ไม่พบผลการค้นหา
ส.ว.แห่ยินดี 'ไพบูลย์' หลังมติรัฐสภา 366 ต่อ 315 เสียงชงศาล รธน.ชี้ขาดเนื้อหาร่างแก้ไข รธน.เปิดทางตั้ง ส.ส.ร.มีเนื้อหาขัดแย้งต่อ รธน.หรือไม่ ด้าน 'ไพบูลย์' ยก รธน.ปี60 ไม่เปิดทางจัดทำร่าง รธน.ใหม่ ทำได้เพียงแก้รายมาตรา หวั่นเสียงงบฯ ทำประชามติ ขอให้ศาลชี้ขาดก่อน

วันที่ 9 ก.พ. 2564 ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้พิจารณาญัตติด่วน เรื่องขอเสนอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) เกี่ยวกับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้มี ส.ส.ร.มาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นญัตติที่ ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และ สมชาย แสวงการ ส.ว.เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภามีมติ 366 เสียงต่อ 315 เสียง เห็นชอบให้ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีเนื้อหาขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีสมาชิกรัฐสภา 15 เสียงงดออกเสียง จากผู้ร่วมประชุม 696 คน 

ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการพิจารณาญัตติดังกล่าว นายไพบูลย์ เดินได้เข้าไปจับมือ และสวมกอดกับ ส.ว.อย่างแนบแน่น ซึ่ง ไพบูลย์ถือเป็นแกนนำหลักที่ผลักดันให้ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ศาลรับธรรมนูญ โดยผู้ที่เห็นชอบในญัตติดังกล่าวเห็นว่าเนื้อหาของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นนั้นอาจขัดหรือแย้ง ต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยหลังจากนี้ประธานรัฐสภา จะส่งคำร้องของไพบูลย์ และ สมชาย ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป

ไพบูลย์ สมาชิกวุฒิสภา รัรสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ  3dc59e85cdab8ffef1afe.jpegไพบูลย์ รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 43B-8D54-B1325039B42F.jpeg

'ไพบูลย์' ย้ำ รธน.ไม่เปิดทางทำ รธน.ฉบับใหม่ ทำได้เพียงแก้รายมาตรา

โดยก่อนหน้านี้ ไพบูลย์ เสนอเหตุผลว่า การยื่นญัตติครั้งนี้ ต้องการให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหลังจากที่ตนเองได้ทำหน้าที่เป็นรองประธานกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาก่อนรับหลักการ ก็พบประเด็นข้อกฎหมายว่า รัฐสภาจะมีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่ เพราะตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 256 ไม่ได้บัญญัติให้รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ให้รัฐสภามีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราเท่านั้น ขณะเดียวกันก็มีข้อโต้แย้งกัน ตนจึงเห็นว่า หากไม่มีการดำเนินการให้ชัดเจนว่ารัฐสภามีอำนาจหรือไม่ตนเป็นห่วงว่าจะมี ส.ว. อาจจะเกรงว่ามีปัญหาเมื่อไม่ชัดเจนในการลงมติวาระ 3 ก็อาจจะไม่กล้าที่จะให้ความเห็นชอบอาจงดอกเสียง ทำให้ได้เสียงเห็นชอบในการผ่านร่างรัฐธรรมนูญไม่เพียงพอ

ไพบูลย์ กล่าวว่า แม้จะมีสมาชิกรัฐสภาหลายท่านไม่เห็นด้วยในการส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่บอกว่า ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญหลังจากพิจาณาวาระสามเสร็จแล้ว ซึ่งจะต้องไปทำประชามติ ซึ่งก็เห็นว่า ต้องไปส่งศาลรัฐธรรมนูญอยู่ดีแต่จะต้องเสียเงิน 3 พันล้านบาท หากศาลวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดำเนินการไม่ได้ ดังนั้นการที่ยื่นญัตติฉบับนี้ก็เพื่อทำความชัดเจน ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการทำประชามติ ดังนั้นเมื่อรัฐสภามีมติญัตตินี้แล้วขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญ และก่อนหน้านี้มีบันทึกความเห็นของกรรมการกฤษฎีกา ต่อผลการศึกษาของกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีความเห็นให้ยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 18-22/2555 ที่ และคำวินิจฉัยที่ 15-18/2556  ดังนั้น กรณีที่เป็นปัญหาจึงควรส่งญัตติให้วินิจฉัยโดยด่วน ทั้งนี้ ญัตติไม่ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญคุ้มครองชั่วคราวหรือให้ชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ​ ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังดำเนินต่อไปได้

“หากศาลรัฐธรรมนูญระบุว่าทำได้ จะทำให้ ส.ว.สบายใจ และการลงมติวาระสาม ไม่มีปัญหา แต่หากรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐสภาไม่มีอำนาจจัดทำฉบับใหม่ และแก้ไขรายมาตราเท่านั้น ผมเสนอให้ตั้ง กมธ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ของรัฐสภา ซึ่งจะแก้ไขกว่า 100 มาตราได้ เชื่อว่าจะไม่เสียเวลาและงบประมาณจำนวนหมื่นล้านบาท” ไพบูลย์ กล่าว

รัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญF09C6FAC-B279-4EFC-B634-1BF83A5E28E9.jpegฝ่ายค้าน เพื่อไทย  รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสมพงษ์ เพื่อไทย ฝ่ายค้าน ก้าวไกล พิธา  รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 48E-3701-418C-9E50-F3B307247F12.jpeg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง