ไม่พบผลการค้นหา
มูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดี สานต่อโครงการมอบทุนอาหารกลางวันเพื่อโรงเรียนภาคเหนือ ดูแลระดับคุณภาพชีวิตให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และอาหารกลางวันในภาคเหนือ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 38 รวมมูลค่าการสนับสนุนทุนกว่า 14 ล้านบาทให้แก่ 90 โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน ซึ่งโครงการอาหารกลางวันดังกล่าวสามารถช่วยเหลือเยาวชนได้กว่า 10,000 คน ให้ได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
080B5B92-B734-45C5-84DA-5BBD1B2DC733.jpeg

ด้วยเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือดูแลสังคม โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลและให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อสืบสานปณิธานของพระยาภิรมย์ภักดี ผู้ก่อตั้ง บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ที่ให้ความสำคัญในการสร้างความมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยที่ผ่านมามูลนิธิพระยาภิรมย์ภักดีได้ดำเนินกิจการเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่อง ภายใต้พันธกิจหลัก 4 ด้าน ได้แก่ การศึกษา การสาธารณสุข การช่วยเหลือสังคม การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

FDA049AE-8203-4085-BB38-27615CB63C9F.jpeg

คุณพงษ์รัตน์ เหลืองธำรงเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงห์ปาร์ค เชียงราย จำกัด กล่าวว่า โครงการ “มอบทุนอาหารกลางวันเพื่อโรงเรียนภาคเหนือ” เป็นโครงการที่จัดมาต่อเนื่องยาวนานถึง 38 ปี เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และอาหารกลางวัน โดยมอบทุนให้กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย รวมถึงในจังหวัดน่าน และในปีนี้ 2565 ได้เพิ่มทุนจากเดิมเพื่อขยายโอกาสให้เด็กในถิ่นทุรกันดารมีความอยู่ดี กินดีกันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะส่งมอบความสุขให้กับเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้มีอาหารมื้อเที่ยงที่ดีมีคุณภาพและมีประโยชน์ ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

63B2A5AE-A46D-47D6-8D5F-1A111B095B96.jpeg

ทั้งนี้การขับเคลื่อนโครงการ “ทุนอาหารกลางวันเพื่อโรงเรียนทางภาคเหนือ” นอกจากมิติในการดูแลและมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กโดยตรงแล้ว ยังเชื่อมโยงการพัฒนาเพื่อสร้างการกินดี อยู่ดี ไปยังครอบครัว จากการที่เยาวชนแต่ละคนนำทักษะจากการมีส่วนร่วมรับผิดชอบโครงการในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งหน้าที่ การดูแลพืชผักในแปลง หรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ประกอบกับโอกาสเรียนรู้การบริหาร การทำบัญชี การขาย รวมทั้งการวางแผนและจัดสรรต่างๆ อันเป็นทักษะพื้นฐานของการบริหารจัดการในเบื้องต้น ไปถ่ายทอดให้กับคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ในการวางแผนบริหารจัดการ ส่งผลให้มีการต่อยอดองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชนและสังคมโดยรวม ตรงตามแนวคิด “การช่วยเหลือที่ยั่งยืน” 

5192A671-6021-40D2-A70D-AA184E2E5F3C.jpeg