ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - ทรัมป์ขึ้นภาษีเหล็ก-อลูมิเนียมกระทบไทยด้วย - Short Clip
ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์บูมในเอเชีย รวมไทย
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
สปช.เสนอเขียนบทเฉพาะกาลนิรโทษทุกสี
CLIP Bizfeed : จากกล่องข้าวแม่สู่วีเมโนมิกส์
เบนส์คุกกี้เตรียมบุกไทย
ไทยตามหลังมาเลเซีย-เวียดนามในดัชนีนวัตกรรมโลก
ประสานเสียงแบงค์ชาติต้องลดดอกเบี้ย
CLIP BizFeed : จ้างงานผู้สูงอายุ รับสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน
CLIP Bizfeed : โรงแรมปรับตัว รับเทรนด์ทำงานพร้อมเที่ยว
ญี่ปุ่นสนใจร่วมเส้นทางสายไหมใหม่ด้วย
UN ชี้ ไทยติดกลุ่มประเทศที่รังแกนักเคลื่อนไหว
 โรงแรมสำหรับนักเล่นเกมแห่งแรกในเอเชียเปิดที่ไทเป
สหรัฐฯ อาจขยายแบนแล็ปท็อปทุกเที่ยวบิน : FULL EP
ไทยติดกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมเยือนญี่ปุ่น
สุมหัวคิด - แก้โควิดต้องไม่กระทบงบบัตรทอง-เสนอเปิดเมือง 1 พ.ค. - FULL EP.
Biz Feed - Biz Insight : ให้คะแนนทรัมป์ สอบผ่านหรือไม่ในทริปเยือนเอเชีย? - SHORT CLIP
Biz Feed - กสิกรไทย ตั้งเป้า 2 ปี เปิดบริการรายย่อย ต้อนลูกค้าจีน - Short Clip
เฟดขึ้นดอกเบี้ยกระทบทั่วโลกอย่างไร?
ยูนิเซฟขานรับ พ.ร.บ.คุมโฆษณานมผงไทย
CLIP Bizfeed : ชมซากุระ จุดขายนี้ไม่ได้มีแค่ญี่ปุ่น
Mar 15, 2017 03:28

เดือนมีนาคมเป็นช่วงเริ่มต้นของไฮซีซันญี่ปุ่น แต่จุดขายด้านการท่องเที่ยวนี้ไม่ได้มีแค่ในญี่ปุ่นอีกต่อไป นอกจากจีน เกาหลีใต้ จะมีเทศกาลชมซากุระเช่นเดียวกัน ตอนนี้แม้แต่สิงคโปร์ก็มีเทศกาลชมซากุระเช่นเดียวกัน จนน่าคิดว่าไทยเองก็มีศักยภาพในการชูจุดขายด้านการท่องเที่ยวนี้ในระดับนานาชาติเช่นกัน แต่ก่อนอื่นคุณชลวิศว์จะพาไปดูตารางชมเทศกาลดอกไม้ของแต่ละประเทศกันก่อนว่ามีที่ไหน เวลาไหนบ้าง

เทศกาลซากุระต้นตำรับอย่างที่ญี่ปุ่น ปีนี้มีการพยากรณ์ว่าจะเริ่มต้นในวันที่ 23 มีนาคม ที่เกาะคิวชู ภาคใต้ ซึ่งมีอากาศอบอุ่นที่สุด ทำให้ดอกไม้บานก่อน จากนั้นซากุระจะทยอยบานทั่วประเทศ จนถึงประมาณวันที่ 6 พฤษภาคม ซากุระจะบานที่ฮอกไกโด เขตหนาวสุดของประเทศ

ส่วนในเกาหลีใต้ อีกที่ที่ขึ้นชื่อเรื่องการชมซากุระ และการเลียนแบบแหล่งท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่น ซากุระจะเริ่มบานที่เกาะเจจู ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม และจะทยอยบานไปจนถึงช่วงกลางเดือนเมษายน โดยในโซลและอินชอน ซากุระจะบานประมาณวันที่ 6-9 เมษายน ทำให้การชมซากุระในเกาหลีใต้มีช่วงเวลาสั้นกว่าในญี่ปุ่น

จีนเป็นประเทศที่เพิ่งตื่นตัวเรื่องการชมซากุระในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การชมซากุระกำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั้งในกลุ่มคนจีนเองและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ การชมซากุระในจีนจะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม และอีกช่วงคือกลางถึงปลายเดือนเมษายน ถือว่าเป็นช่วงที่สั้นกว่าญี่ปุ่นต้นตำรับเช่นกัน

ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ยังเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศ รวมถึงรากฐานวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน การที่ชาวจีนและเกาหลีจะใช้การชมซากุระเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวแข่งกับญี่ปุ่น ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกนัก และถือเป็นการสร้างทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวที่อาจจะเบื่อความวุ่นวายและราคาโรงแรมที่ถีบตัวสูงอย่างน่าตกใจในญี่ปุ่นช่วงเทศกาลซากุระ แต่ประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่าจะใช้ซากุระเป็นจุดขายได้ด้วย ก็คือสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศเขตร้อน แต่สามารถมีต้นซากุระเป็นจุดขายให้นักท่องเที่ยวไปถ่ายรูปและชมดอกไม้บานในช่วงฤดูใบไม้ผลิได้ ด้วยเรือนกระจกควบคุมอุณหภูมิขนาดใหญ่ในการ์เดนส์ บาย เดอะ เบย์ สวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติที่ชาวสิงคโปร์ภาคภูมิใจ ในสวนเรือนกระจกแห่งนี้มีซากุระถึง 20 สายพันธุ์ ทั้งสีขาวและสีชมพู แม้จะใช้ดินของสิงคโปร์ แต่ก็ปรับสภาพอากาศให้เหมือนกับบ้านเกิดของซากุระที่ญี่ปุ่น โดยภายในสวนยังจัดตกแต่งเป็นสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวและชาวสิงคโปร์ได้สัมผัสบรรยากาศ "ฮะนะมิ" หรือการชมซากุระแบบญี่ปุ่นให้ได้เหมือนจริงมากที่สุด โดยจะเปิดให้ชมถึงวันที่ 24 มีนาคมเท่านั้น

ผู้อำนวยการการ์เดนส์ บาย เดอะ เบย์ ยอมรับว่าการทำสวนซากุระให้บานสะพรั่งในสิงคโปร์เป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก แต่เมื่อเทียบกับฟีดแบ็กที่ได้รับจากประชาชนก็ถือว่าคุ้มค่า ทำให้ต��ดสินใจจัดเทศกาลซากุระในสิงคโปร์ต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่สอง

สำหรับไทยเอง แม้จะเป็นประเทศในเขตร้อนชื้นเช่นเดียวกับสิงคโปร์ แต่ก็มีการจัดเทศกาลชมดอกไม้เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่การชมทุ่งทานตะวัน ทุ่งบัวตอง ไปจนถึง "ซากุระเมืองไทย" อย่างต้นนางพญาเสือโคร่งตามจังหวัดในภาคเหนือ นางพญาเสือโคร่งจะบานในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่ธันวาคมถึงปลายมกราคม ไม่ตรงกับเทศกาลซากุระในเอเชียตะวันออก ซึ่งทำให้ไม่ยากเลยที่จะชูกิจกรรมชมซากุระเมืองไทยเป็นจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวในไฮซีซันของไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวทั้งในจีน ญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา ต่างหนีหนาวมาเที่ยวเมืองร้อน และไม่สามารถชมดอกไม้ที่ไหนได้

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog