ไม่พบผลการค้นหา
จะหาคนฉลาดได้ที่ไหน?
ขึ้นค่าแรงทำเศรษฐกิจพัง ธุรกิจเจ๊งจริงหรือ?
ดิจิทัลเรฟูจี
กฎหมายห้ามมีกิ๊กมีจริงหรือ?
ยุโรปเอือมนักท่องเที่ยว
โพสต์รูปเหล้าแบบไหนผิด?
ทำไมสเปนคัดค้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ทำไมรับจ้าง 'ฆ่าคน' ?
ไม่มีตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งฝรั่งเศส
ความรักใช้สมองหรือหัวใจ?
เขียนลายมือ จำเป็นไหมในยุคดิจิทัล?
ฝันที่ควรเป็นจริง รถเมล์จังหวัด
เพราะโกงจึงมีกรรม
ความเหนือกว่าของคนผิวขาวคืออะไร?
ทักษะครู ในยุคดิจิทัล
หมดยุคล่าเมืองขึ้น ถึงยุคพัฒนาคุณภาพชีวิต
บริจาคเงินเข้าประชารัฐได้ลดหย่อนภาษี
Amazon เปิดซูเปอร์มาร์เก็ตไร้คนขาย
ไม่มีใครอยากให้ลูกโตไปแล้วจน
ยุคแห่งการห้ามดื่มเหล้าในสหรัฐอเมริกา
จ่ายเงินเดือนผู้พ้นโทษ จูงใจรายงานตัว
Aug 7, 2017 13:35

ตำรวจก้าวหน้าจัดการบริหารนักโทษ ลดความเสี่ยงก่อความผิดซ้ำ

พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) กล่าวในงานเสวนา “แนวทางการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำในประเทศไทย” ซึ่งจัดโดยกรมคุมประพฤติ ถึงปัญหาคดีอาชญากรรมในประเทศไทยว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่าเน้นแต่การจับกุมส่งเข้าเรือนจำอย่างเดียว เพราะเข้าไปแล้วนอกจากจะไม่มีกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยังเป็นแหล่งบ่มเพาะให้สามารถก่อคดีซับซ้อนและรุนแรงยิ่งขึ้น

กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มผู้ต้องขังที่เพิ่งพ้นโทษจากเรือนจำ ที่ผ่านมายังไม่มีมาตรการติดตามและเฝ้าระวังหลังปล่อยตัวที่ครอบคลุม ส่งผลให้คนกลุ่มนี้กลับไปทำผิดซ้ำ ตนจึงเสนอว่า น่าจะมีงบประมาณสำหรับจ่ายให้กับผู้พ้นโทษเดือน 1,000 บาท เพื่อจูงใจให้มารายงานตัวทุกเดือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ทราบว่าไปอยู่ที่ไหน มีชีวิตเป็นอย่างไร เพราะจำนวนมากไม่สามารถติดตามได้ ย้ายที่อยู่ก็ไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ใด

พล.ต.ท.ฐิติราช กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ก่อนจะปล่อยตัวผู้ต้องขัง ควรมีการประเมินสุขภาพจิ��ก่อนเพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงว่าใครมีแนวโน้มที่จะกลับไปทำผิดซ้ำ เพื่อเตรียมมาตรการเฝ้าระวังต่อไป รวมถึงต้องมีกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่ยังทำผิดในระดับต้นๆ เช่น ผู้ก่อคดีข่มขืนกระทำชำเรา หลายรายเริ่มต้นจากพฤติกรรมขโมยชุดชั้นในสตรีหรือลวนลามอนาจาร คนเหล่านี้ถือว่าป่วย หากนำไปติดคุกอย่างเดียวแต่ไม่มีการบำบัดแก้ไข เมื่อพ้นโทษก็ออกมาก่อเหตุเช่นเดิมหรือรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้คงต้องขอความร่วมมือจากกรมสุขภาพจิตด้วย

Source:
http://www.naewna.com/local/284515 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog