รายการ Talking Thailand ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2563
“อ.พิชญ์” ชี้ ถ้าบรรดากูรูเศรษฐศาสตร์ อยากส่งเสียงถึงรัฐบาล ควรลงถนนโวยวาย ดีกว่ามาจิบน้ำชามาเสวนา แล้วพูดให้ตัวเองดูมีวิสัยทัศน์
“คำผกา” ก็ทวนความจำ ปี 49 ทำอะไรกัน...ก็เพราะการล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ ที่นำมาซึ่ง “หายนะ” ในวันนี้
ประชาชาติธุรกิจ ถอดบทสัมภาษณ์ ในระหว่างที่ นายบรรยง พงษ์พานิช ประธาน กรรมการบริหารธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมพูดคุยระดมสมองของ "พรรคกล้า" ที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ชวนคุยในหัวข้อ "ความปกติใหม่ และวิสัยทัศน์ประเทศไทย" บนโลกวิถีใหม่new normal
ในบางช่วง นายบรรยง ระบุว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั้งโลกมีปัญหา เพราะโลกเชื่อมโยงกันมากขึ้นจึงลุกลาม ไร้พรมแดน ไม่มีประเทศใดในโลกปราศจากเชื้อโควิด-19 "โลกจะเข้าสู่สภาวะ recession (ถดถอย) ต่อให้พบวัคซีนปีหน้า แต่ Damage is done ความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ต้องใช้เวลาไม่น้อยที่จะแก้ปัญหาให้หมดไป
แม้ระบบสาธารณสุขของไทยที่สามารถรับมือโควิด-19 ได้ดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก แต่ด้วยเศรษฐกิจไทยมีปัญหาในเชิงโครงสร้าง ทำให้มาตรการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลมี "ต้นทุนสูง" เช่น ปัญหาการเจริญเติบโต การกระจาย ไม่บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นประเทศกำลังพัฒนา 10 ปี ที่ผ่านมามีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ติดกับดักศักยภาพ โดยเฉพาะ productivity ไม่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจไทย เกี่ยวโยงกับต่างชาติเยอะ จึงเกิดความเปราะ-บางจากวิกฤตโลก รวมถึงการท่องเที่ยว ส่งออก ผลกระทบค่อนข้างหนัก
"ตอนนี้เราเจอปัญหาเศรษฐกิจใหญ่มโหฬารแน่นอน การปิดเศรษฐกิจครั้งนี้ เป็นการปิดตามคำสั่งของรัฐบาล เป็นการตัดสินใจที่ผมสนับสนุนนะ ตัดสินใจเอาเรื่องสุขภาพก่อน แต่หนีไม่พ้นที่จะเจอปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหญ่มาก"
สำนักพยากรณ์เศรษฐกิจคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้จะ "-5.8%"แต่เขาเชื่อว่า "-10%"มากกว่าครั้งวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ค.ศ. 1998 ซึ่ง "-9%" จะติดลบต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เพราะทั้งโลกประสบปัญหาวิกฤตเดียวกัน เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำ เนื่องจากการกระจายความเหลื่อมล้ำ ความมั่งคั่งและโอกาสไม่ค่อยดี คนเดือดร้อนมาก ถ้ามองประวัติศาสตร์โลก สงครามโรคระบาด วิกฤตเศรษฐกิจจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ครั้งนี้ก็คงลดบ้าง แต่เป็นการลดที่เราไม่ค่อยชอบ การเห็นมหาเศรษฐีจนลงเราไม่ได้ปลื้มใจไปด้วย ทุกคนจะเจอผลกระทบ"
"ผมคัดค้านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ 4 พันหน้า ใช้ไม่ได้ ต้องไปแก้รัฐธรรมนูญให้เลิกมีซะที พิสูจน์ให้เห็นว่า วิธีการต้องเปลี่ยน โลกคาดการณ์
ไม่ได้ ทำให้การวางแผน วางยุทธศาสตร์ยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย" มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของรัฐบาล รวมถึงมาตรการที่มี "ข้อกังขา" ว่า "อุ้มเศรษฐี" / ผมสนับสนุนและคิดว่า อาจจะไม่พอ ด้วยซ้ำ 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ประชาชาติ ด้านสาธารณสุขมีเท่าไหร่ก็ต้องใส่ให้หมด เยียวยาผู้เดือดร้อนโดยตรงระยะสั้นให้อยู่ได้ โดยเฉพาะคนด้อยโอกาสต้องได้รับการดูแลให้พ้นช่วงวิกฤตไปได้"
"ผมเห็นด้วยกับมาตรการดูแลระบบการเงินให้เดินต่อไปได้ ไม่ให้เกิดวิกฤตซ้อน ดีกว่าตามแก้ปัญหา เพิ่มสภาพคล่องระยะสั้นไม่ให้บริษัทเล็ก-ใหญ่เจ๊ง จนกระทบทั้งห่วงโซ่ซัพพลายเชน เช่น การจ้างงาน...กู้เงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีไม่น่ากลัว 20 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีก็ไม่น่ากลัว แม้จะทำให้หนี้สาธารณะติดเพดานก็จริง แต่ต้องชื่นชมรัฐไทยตั้งแต่สมัย พล.อ.เปรมที่มีวินัยการคลังดี หนี้สาธารณะจึงอยู่ในขอบเขตที่จัดการได้ มีกำลังเหลือพอจะใช้ได้
"ถ้าเราขึ้นไปเต็มเพดาน ผมอยากจะยุ ไปได้เลย ไปอีก 10 เปอร์เซ็นต์จนเต็ม เพดานหนี้สาธารณะ / อยากลดหนี้สาธารณะ ของรัฐไทย ทำได้ 2 อย่างหลัก 1.ให้เศรษฐกิจโตเยอะ ๆ เพื่อเก็บภาษีมากขึ้น 2.ขึ้นภาษี เอาจากคนรวยให้มากกว่า อย่างที่ 3 คือ ขายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีทรัพย์สินรวมกันกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี (16 ล้านล้าน) แบ่งขายไม่ถึงครึ่งก็สามารถลดหนี้สาธารณะลงไปอีก 40 เปอร์เซ็นต์ได้อีก แต่ต้องรอจังหวะให้ได้ ต้องมีวิธีการให้ดี"
ในฐานะ "ศิษย์เก่า" บอร์ด บมจ.การบินไทย ทำให้หุ้นการบินไทยทำกำไร 2 ปีติดต่อ ปีแรก 7 พันล้านบาท ปีที่สอง 1.5 หมื่นล้านบาท ราคาหุ้นจาก 7 บาทขึ้นไปเป็น 53 บาท โชว์กึ๋น วิธีแก้ไขปัญหาการขาดทุน // ไม่แปลกใจที่รัฐบาลจะให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ 5 หมื่นล้านบาท และเห็นด้วยในภาพรวม แต่ต้องไม่ใช่การค้ำประกันเฉย ๆ หรือไม่ควรค้ำประกันด้วยซ้ำ รัฐบาลควรจะไปกู้มาแล้วให้การบินไทยกู้อีกต่อ
"ผู้กู้กับผู้ค้ำประกันมีอำนาจผิดกัน โดยให้การบินไทยเข้ากระบวนการฟื้นฟูภายใต้กฎหมายล้มละลาย เพราะทำให้เจ้าหนี้รายสุดท้าย คือ รัฐบาลมีอำนาจมากกว่า การบินไทยก่อนโควิด-19 ก็อยู่ได้แค่ 6 เดือนอยู่แล้ว ขาดทุนปีละหมื่นกว่าล้านบาท ทุนเหลือศูนย์ หนี้เกือบ 3 แสนล้าน ทุนติดลบ การได้เงิน 5 หมื่นล้าน จึงไม่ได้แก้ปัญหา เป็นเพียงการยืด 6 เดือนก็หมดแล้ว"
"ต้องแก้แบบรื้อกระดาน ผ่าตัดใหญ่ ต้องกล้าทำ ต้องมี political will (เจตจำนงค์ ทางการเมือง) จะเป็นบรรทัดฐานที่ดีในการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง"เขาดักทางมายาคติ-วิวาทะ "ขายชาติ" ที่จะย้อนศรทิ่มแทงแนวคิดการแปรรูปวิสาหกิจ
"เวลาเราพูดว่า อุตสาหกรรม สำคัญในประเทศ ผู้ถือหุ้นใหญ่ควรจะเป็นของคนไทย ฟังดูดี นักการเมืองพูดทุกคน ใคร ๆ ก็พูด เช่น สายการบิน เทเลคอม แบงก์ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเก็บไว้ทำไม ทั้งที่การขายออกไปในตลาดมีประโยชน์มาก ผมถามคำถามง่าย ๆ ว่า มีกี่ตระกูลที่จะไปถือหุ้นพวกนั้นได้ เรากำลังปกป้อง เจ้าสัว หรือว่าปกป้องผู้บริโภคกันแน่ เวลาเรามีมายาคติแบบนี้"
"บรรยง" ผู้ปวารณาตัวสังกัดลัทธิ neoliberal จึงเชื่อว่า "ระบบตลาด" มีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐ-รัฐควรจำกัดการขยายตัว 3 ประการ 1.ขนาด 2.บทบาท และ 3.อำนาจ
ประเทศไทยไม่มีหลักว่าจะบริหารไปในทิศทางใด โดยเฉพาะเศรษฐกิจ รัฐไทย ขยายตัวมโหฬาร โดยเฉพาะภายใต้ระบบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยยิ่งขยายตัว"
"ขนาดของรัฐไม่สูงมาก 25 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี แต่รัฐวิสาหกิจกับนโยบายนอกงบประมาณใหญ่โตมโหฬาร รัฐวิสาหกิจไทยขยายจาก 5 ล้านล้าน เป็น 16 ล้านล้านใน 15 ปี 3 เท่าตัว" เมื่อขยายขนาดก็ขยายบทบาท เข้าไปทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ ขยายอำนาจ กฎระเบียบของไทยมีเป็นแสนฉบับมีมากมหาศาล เป็นอุปสรรค ยิ่งขยายรัฐ ยิ่งขยายคอร์รัปชั่น วิธีเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีที่สุด คือ การลดรัฐ ครั้งนี้เป็นโอกาส
"แปรรูปวิสาหกิจ คือ การลดรัฐ การปล่อยทรัพยากรให้ตลาดจัดการจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะโลกพิสูจน์แล้วว่าตลาดคือการแข่งขัน ภายใต้โครงสร้างที่วางไว้ดีเท่านั้น ถ้าปราศจากตลาด รัฐจะเป็นสังคมนิยม" หาก "บรรยง" มีอำนาจอยู่ในมือ หลังสถานการณ์โควิด-19 เรื่องแรกเรื่องเดียวที่จะทำ เขามองโลกสวย คือ การปฏิรูประบบราชการ
"ขอทำ project ที่ทำอยู่แล้วให้จริงจัง คือ regulatory guillotine การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งห่อหุ้มกฎหมาย ถ้าปฏิรูปกฎหมายได้ รัฐมีหน้าที่-อำนาจแค่ไหน เพื่อ release ราชการ และระบบตลาดให้ทำงานดีขึ้น ส่งเสริมตลาด ไม่แทรกแซง