ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ญี่ปุ่นเล็งนำหุ่นยนต์เอไอมาสอนภาษาอังกฤษ - Short Clip
World Trend - 'เฟซบุ๊ก' เผยปัญญาประดิษฐ์ช่วยให้ธุรกิจรุ่ง - Short Clip
World Trend - สิงคโปร์เตรียมใช้ระบบจำแนกใบหน้าตามหาผู้โดยสาร - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - เซี่ยงไฮ้ทดลองใช้ ‘โดรน’ ส่งอาหาร - Short Clip
World Trend - ‘เฟซบุ๊ก’ ออกแบบชิปช่วยกรอง ‘ไลฟ์’ ไม่เหมาะสม - Short Clip
World Trend - EU หนุนการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ในไทย - Short Clip
World Trend - ​'กวางนาระ' ทำร้ายนักท่องเที่ยวเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - Line Game เปิดให้เล่น Pangya บนมือถือได้แล้ว - Short Clip
World Trend - ม.แอริโซนา สำรวจการใช้บัตรนักศึกษา หวังลดจำนวนเด็กลาออก - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ภาษีโซดาช่วยลดการบริโภค - Short Clip
World Trend - เฟซบุ๊ก เพิ่มฟีเจอร์ 'วอตช์ ปาร์ตี้' ให้ผู้ใช้งานดูวิดีโอร่วมกัน - Short Clip
World Trend - 'สังคมไร้เงินสด' อาจได้ไม่คุ้มเสีย - Short Clip
World Trend - พบแพทย์ผ่านแอปฯ แนวทางใหม่ของผู้ป่วยยุคดิจิทัล - Short Clip
World Trend - แคนาดาเปิด​​ขายกัญชาเพื่อนันทนาการแล้ว - Short Clip
World Trend - ย้อนดู 5 วีรกรรมที่ 'เฟซบุ๊ก' ตั้งใจป่วน 'อินสตาแกรม' - Short Clip
World Trend - Facebook ยังทำกำไรแม้โดนมรสุมเรื่องทำข้อมูลรั่วไหล - Short Clip
World Trend - คนเคยอ้วนจะหิวกว่าคนทั่วไป - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำหวานวันละแก้วเสี่ยงมะเร็ง - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - อดีตพนักงานฟ้องร้อง 'เฟซบุ๊ก' ฐานไม่ดูแลสภาพจิตใจ - Short Clip
Sep 28, 2018 16:31

อดีตพนักงานฝ่ายตรวจสอบเนื้อหารุนแรงบนเฟซบุ๊ก ยื่นฟ้องบริษัทฐานไม่มีมาตรการปกป้องพนักงาน เมื่อได้รับบาดแผลทางจิตใจ จากการต้องดูภาพและวิดีโอที่มีเนื้อหารุนแรงทุกวันติดต่อกัน

เซเลนา สโกลา อดีตพนักงานตรวจสอบเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก ยื่นฟ้องร้องบริษัทเฟซบุ๊กว่า ไม่มีมาตรการป้องกันบาดแผลทางจิตใจของพนักงาน จากการต้องดูภาพและวิดีโอที่มีเนื้อหารุนแรงทุกวัน เพื่อพิจารณาว่าเนื้อหาใดที่ละเมิดเงื่อนไขการใช้เฟซบุ๊ก ทำให้เธอได้รับบาดแผลทางจิตใจ และต้องเผชิญกับความเครียดรุนแรงหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือที่เรียกว่าอาการ PTSD โดยสโกลาระบุว่า เธอต้องทนดูผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์วิดีโอ ภาพ และการถ่ายทอดสดการล่วงละเมิดเด็ก การข่มขืน ทรมาน การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์ การฆ่าตัดคอ การฆ่าตัวตาย และการฆาตกรรมหลายล้านโพสต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของเธออย่างมาก

ปัจจุบัน เฟซบุ๊กมีพนักงานตรวจสอบเนื้อหาในลักษณะนี้อย่างน้อย 7,500 คน และมีมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาบนเฟซบุ๊กอยู่แล้ว ทั้งการรับคำปรึกษาและการสนับสนุนด้านสุขภาพจิต ฝึกฝนให้สามารถสังเกตอาการเริ่มต้นของ PTSD ได้ อย่างไรก็ตาม สโกลาระบุว่า เฟซบุ๊กละเลยมาตรการความปลอดภัยในการทำงานของตัวเอง และยังละเมิดกฎหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนียในการให้พนักงานทำงานในสภาพอันตราย ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังระบุว่า เฟซบุ๊กไม่ได้จัดอบรมหรือให้มาตรการความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ทำให้พนักงานตรวจสอบเนื้อหาแทบไม่รู้ว่าต้องรับมือกับความเครียดที่ตามมาอย่างไร

ในหนังสือยื่นคำร้องระบุว่า อาการ PTSD ของสโกลาจะถูกกระตุ้นขึ้นมา เมื่อเธอเพียงแค่จับเมาส์คอมพิวเตอร์ หรือเข้าไปในอาคารที่อากาศหนาวเย็น เห็นความรุนแรงในทีวีหรือได้ยินเสียงดัง นึกถึงและพูดคุยเกี่ยวกับภาพที่เธอเห็นบนเฟซบุ๊ก โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เธอมีอาการ PTSD ขึ้นมาด้วยเช่นกัน ด้านเบอร์ตี ธอมสัน ผู้อำนวยการการสื่อสารองค์กรของเฟซบุ๊ก ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกรณีนี้ว่า เฟซบุ๊กรับรู้ว่างานนี้เป็นงานยาก บริษัทจึงจัดอบรมและมอบสวัสดิการให้กับพนักงานตรวจสอบเนื้อหาบนเฟซบุ๊ก เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนที่ทำหน้าที่นี้ได้รับความช่วยเหลือด้านจิตวิทยาและเข้าถึงทรัพยากรด้านสุขภาพ เช่น มีพื้นที่ผ่อนคลายสำหรับพนักงาน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog