ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - มาเลเซียจะกลับมาเป็น 'เสือแห่งอาเซียน' ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - มหาวิทยาลัยจีนแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เอเชีย - Short Clip
World Trend - ออสการ์ประกาศเพิ่มสาขาหนังยอดนิยม - Short Clip
World Trend - ​Google จ่ายค่าแรง 'ผู้ชาย' น้อยกว่า 'ผู้หญิง' - Short Clip
World Trend - 'ฟาร์มไก่มีจริยธรรม' เทรนด์บริโภคไข่ของวันนี้ - Short Clip
World Trend - ยอดขายหัวเว่ยทะลุแสนล้าน แม้ถูกกีดกันจากทั่วโลก - Short Clip
World Trend - ญี่ปุ่นแก้กม.หลังพบเด็กถูกทำร้ายมากเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - กลุ่มมหาเศรษฐีญี่ปุ่นร่ำรวยขึ้นภายใต้ 'อาเบะโนมิกส์' - Short Clip
World Trend - 'ฟินแลนด์' คว้าแชมป์ประเทศมีความสุขมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - ชาวต่างชาติในจีนส่งลูกเรียนรร.รัฐมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 'หนังสือเด็ก' กับความไม่หลากหลายทางเชื้อชาติ - Short Clip
World Trend - ดิสนีย์แลนด์เตรียมแบนบุหรี่-รถเข็น-น้ำแข็ง - Short Clip
World Trend - กูเกิลยุติโครงการตั้งสภาจริยธรรมเอไอ - Short Clip
World Trend - มิตซูบิชิ เตรียมให้โบนัสพนักงานที่ไม่ทำงานจนดึก - Short Clip
World Trend - สถิติชี้ คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายสูงสุด 'เช้าวันจันทร์' - Short Clip
World Trend - ทำไมจีนยังต้องพึ่ง 'ซิลิคอนแวลลีย์' ? - Short Clip
World Trend - การดื่มน้ำหวานอาจเร่งให้เนื้อร้ายโตเร็ว - Short Clip
World Trend - ยูเนสโกประกาศ 'พุกาม' เป็นมรดกโลก - Short Clip
World Trend - ​อังกฤษขอเลื่อนเบร็กซิตเป็น 30 มิ.ย. - Short Clip
World Trend - ราคาอินเทอร์เน็ตอังกฤษแพงกว่าอินเดีย 25 เท่า - Short Clip
World Trend -​ ญี่ปุ่นใช้ 'เรวะ' เป็นรัชสมัยใหม่ 1 พ.ค.นี้ - Short Clip
Apr 2, 2019 05:08

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศชื่อรัชศก หรือรัชสมัยใหม่ 'เรวะ' ต้อนรับจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ซึ่งจะขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019

นายโยชิฮิเดะ สุกะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงข่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีมติให้ใช้คำว่า 'เรวะ' เป็นชื่อรัชสมัยใหม่ที่จะเริ่มขึ้นเมื่อมกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะจะขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2019 ที่จะถึงนี้ โดยคำว่า 'เรวะ' เป็นวลีที่นำมาจากบทกวีนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นชื่อว่า 'มันยุโช' ซึ่งแตกต่างจากคำว่า 'เฮเซ' ซึ่งเป็นชื่อของรัชสมัยปัจจุบันที่นำมาจากวรรณกรรมของจีน

เมื่อลองวิเคราะห์ตามความหมายของทั้งสองคำแล้วจะพบว่า ตัวอักษรคันจิคำว่า 'เร' มีความหมายว่า ความเป็นสิริมงคล หรือสมถะ ขณะที่คำว่า 'วะ' หมายถึง ความสุขสงบ หรือความสามัคคีกลมเกลียว

ด้านนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ออกมากล่าวหลังการประกาศอย่างเป็นทางการว่า มันยุโช ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของฤดูกาลและธรรมชาติ และเขาต้องการส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้แก่คนรุ่นต่อไป พร้อมระบุด้วยว่าเขาต้องการให้ญี่ปุ่นเบ่งบานเหมือนดอกบ๊วยที่ชูช่ออย่างสวยงามหลังจากที่ผ่านฤดูหนาวที่โหดร้าย เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ

นอกจากนี้ นายอาเบะยังกล่าวว่า เขาปรารถนาให้ชื่อรัชสมัยใหม่นี้ช่วยเติมเต็มความรู้สึกของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ และมีส่วนผลักดันการปฏิรูปประเทศด้วยเช่นกัน

ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นยังคงใช้ปฏิทินตามแบบฉบับญี่ปุ่น หรือ เกนโกะ ควบคู่ไปกับการใช้ปฏิทินตามแบบฉบับตะวันตกในเอกสารราชการต่าง ๆ และก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นอยู่ในรัชสมัย 'โชวะ' มายาวนานกว่า 64 ปี ก่อนจะเปลี่ยนเข้าสู่รัชสมัยเฮเซ (Heisei) ในปี 1989 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะขึ้นครองราชย์ และรัชสมัย 'เฮเซ' นี้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายน 2019 พร้อมกับการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิฯ เพื่อเปิดทางให้มกุฎราชกุมารนะรุฮิโตะขึ้นครองราชย์ในวันที่ 1 พฤษภาคมต่อไป

ชื่อรัชสมัยของญี่ปุ่นจะแฝงไปด้วยความหมายที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และสภาพเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่นอย่างในรัชสมัยเฮเซ ที่เริ่มต้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 1989 โดยคำว่า 'เฮเซ' มีความหมายสื่อถึงการบรรลุสันติภาพ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นคาดหวังจะให้ตนเองเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจหลักในการเมืองระหว่างประเทศ หลังจากประสบความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจมานานหลายทศวรรษ

อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยเฮเซ ญี่ปุ่นได้ประสบกับปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขึ้นมาแข่งขันของจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งส่งผลให้ภาพของญี่ปุ่นในเวทีระหว่างประเทศนั้นชะงักลงไป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งแผ่นดินไหวที่โกเบครั้งใหญ่ในปี 1995 และสึนามิถล่มญี่ปุ่นในปี 2011

จุน อิจิมะ ทนายความวัย 31 ผู้ที่เกิดในช่วงปีสุดท้ายของรัชสมัย 'โชวะ' และเติบโตในรัชสมัย 'เฮเซ' กล่าวว่า นี่คือการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หากนับตามระบบปฏิทินตะวันตกก็อาจจะนับช่วงเวลาดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในปฏิทิน 'เกนโกะ' จะให้ความหมายที่เป็นช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

ทางด้านนักวิชาการด้านญุี่ปุ่นศึกษา เคน รอฟฟ์ นักวิชาการจากมหาวิยาลัยพอร์ตแลนด์กล่าวว่า การประกาศชื่อ 'เรวะ' นั้นมีการสื่อถึงความเป็นชาตินิยมแบบอ่อน ซึ่งรอฟฟ์กล่าวว่านี่คือหนึ่งในสิ่งที่ย้ำเตือนว่าญี่ปุ่นยังคงมีระบบการนับปฏิทินที่แตกต่างจากประเทศอื่นและญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบสถาบันกษัตริย์

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังมีการเรียกยุคสมัยแบบ 'รัชสมัย' หรือ 'รัชศก' อย่างเป็นทางการ ควบคู่ไปกับการใช้ปฏิทินแบบโบราณและปฏิทินแบบสากล โดยจุนโซ มาโทบะ ข้าราชการอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านราชประเพณีของญี่ปุ่น ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้คัดเลือกชื่อเรียกรัชสมัยในสมัยที่สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงขึ้นครองราชเมื่อปี 1989 ระบุว่า การใช้รัชสมัยนับปีที่ผ่านไปในยุคสมัยของจักรพรรดิแต่ละพระองค์มีความหมายที่แตกต่างกัน และจะช่วยให้นักประวัติศาสตร์จดจำปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในแต่ละยุคที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิแต่ละพระองค์ได้ง่ายขึ้น 

สิ่งสำคัญที่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดก็คือคำเรียกรัชสมัยต่อไปจะต้องไม่ซ้ำกับคำที่เคยมีการใช้ในอดีต นับตั้งแต่ราชวงศ์ญี่ปุ่นเริ่มใช้ระบบรัชศกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 และคำที่เคยได้รับการเสนอไปแล้ว แต่ถูกปฏิเสธเมื่อในอดีต ก็จะไม่สามารถนำกลับมาเสนอใหม่อีกรอบได้เช่นกัน

จุนโซ มาโทบะ เปิดเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า กระบวนการค้นหาและคัดเลือกชื่อเรียกรัชสมัยเป็นเรื่องสำคัญ แต่เขาและผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ๆ ไม่อาจจะหารือกันอย่างเปิดเผยได้ แต่ต้องประชุมกันในทางลับร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลและตัวแทนสำนักพระราชวัง เพราะการกล่าวถึงรัชสมัยใหม่ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันยังมิได้สละราชสมบัติถือเป็นการ 'มิบังควร' อย่างยิ่ง ถ้าเป็นสมัยโบราณจะถือว่ามีความผิดร้ายแรง

สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า พระราชประเพณีของญี่ปุ่นกำหนดว่าผู้มีสิทธิ์สืบทอดราชสมบัติจะต้องเป็นเพศชาย และผู้ที่จะครองราชย์เป็นลำดับต่อไป คือ เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารพระองค์ปัจจุบัน

เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะทรงสละราชสมบัติ พระองค์จะทรงได้รับการกล่าวขานว่า 'โจโกะ' หรือ 'ไดโจ เทนโนะ' ซึ่งหมายถึงกษัตริย์ผู้สละราชสมบัติไปแล้ว และคาดว่าพระองค์และพระมเหสีจะทรงย้ายไปยังพระราชวังโทะกุ ในย่านอากะซะกะ ของกรุงโตเกียว ซึ่งจะทรงมีเวลาส่วนพระองค์เพิ่มขึ้น

พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่นยุคปัจจุบันมีหลายประการ โดยรวมถึงการลงพระปรมาภิไธยรับรองกฎหมายต่าง ๆ การต้อนรับประมุขและผู้นำจากต่างประเทศที่เดินทางเยือนญี่ปุ่น การเปิดประชุมสภาไดเอ็ต รวมไปถึงการทรงเป็นประธานในพระราชพิธีด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog