1
(วงผ้าขาวม้า)
เสียงดังฉ่าของกระทะใบเก่าที่กระทบกับ ‘ปลาส้ม' สีเหลืองนวลที่ชวนหิวหมือนเป็นสัญญาณให้คนหลายคนหันเหมาสนใจในสิ่งต้องหน้า ผู้คนมากหน้าหลายตาที่เคยคุ้นวันนี้พวกเขาได้กลับมาพบปะกันในงาน ‘ระบำไพร่’ บนพื้นที่ ‘เมืองสิงห์’ จังหวัดยโสธร ที่คราคร่ำไปด้วยนักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหว รวมถึงศิลปินพรรคกระยาจกในภาคอีสาน
2
(สิริศักดิ์ สะดวก)
"เขาก็มาคุยกับเราบ่อยนะ ห้ามไม่ให้เราไปเคลื่อนไหว" พี่เนตร หรือนายสิริศักดิ์ สะดวก ผู้เคลื่อนไหวในกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำลำเซบาย เล่าถึงข้อผูกมัดในการออกมาเคลื่อนไหว ต่อต้านโรงน้ำตาลแบรนด์ใหญ่ ระหว่างพื้นที่คาบเกี่ยวจังหวัดยโสธรและอำนาจเจริญ ด้วยการเข้ามาของนายทุนเข้ามาในพื้นที่แห่งนั้น หากกระบวนการจัดตั้งเกิดขึ้นแล้ว
“พวกแม่แทบไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเลย อยากให้เขาเห็นประชาชนเท่าเทียมกัน ถามว่ากลัวไหมเราไม่กลัวหรอกที่ออกมาเคลื่อนไหว” นั่นคือเสียงสะท้องจากปากของ มะลิจิตร เอกตาแสง แม่ผู้ซึ่งมองว่าผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นแแน่ เมื่อทุกการก้าวย่างของโรงงานน้ำตาลเข้ามาในพื้นที่
“ใช่เรามองว่าคุณต้องเห็นคนเท่ากันนะ ไม่ใช่เอื้อนายทุนอย่างเดียว” หญิงสาวคนหนึ่งเปรยขึ้นมากลางวง อาจคงเป็นด้วยความเต็มใจหรือความรักแผ่นดินที่เธอพำนักแต่แรกเกิด อะไรละทำไมหรือพวกเขาถึงต้องมาเรียกร้องสิทธิบนแผ่นดินเกิด
“คุณควรรับฟังเราด้วย เสียงประชาชนควรมีคุณค่าเท่ากัน” พี่เนตรกล่าวย้ำเสริมขณะที่ละเลียดน้ำลงอึกใหญ่
3
(สุภชัย จันทร์ศิริ)
"มีเรื่องราวมากมายจะบอก เอ็งจงฟังข้าบ้าง" กวีกลอนที่ถูกสื่อออกมาในบทเพลง "ขุนเขายะเยือก" ของอาจารย์นิด ลายสือ ศิลปินคนดนตรีเมืองขอนแก่น ถูกเปิดในขณะที่ทุกคนเริ่มบดบี้ขยี้ตื่นจากความหลับไหล
“งานนี้เราอยากให้มันเป็นพื้นที่ของสิทธิพวกเรา ที่มันถูกริบไปโดยพวกผู้มีอำนาจคับเมือง” ยุทธ สุภชัย จันทร์ศิริ ผู้จัดงานบอกเล่าถึงเหตุผลในการจัดงานระบำไพร่ ที่ซึ่งพาเหล่านักเคลื่อนไหวและศิลปินมาถกคิดต่อยอดไอเดียกัน ด้วยความคุ้นชินสนิทกันเขาเล่าถึงการออกแบบงาน ระบำไพร่ คือการส่งเสียงเปล่งออกมาจากการกรีดร้องของนักดนตรี
“ตราบใดที่เรายังอยู่กันแบบนี้ ชาตินี้ก็คงไม่มีเสรีภาพกันหรอก” เขาให้ความเห็นแบบนั้นเมื่อถูกถามถึงประเด็นเสรีภาพ อาจใช่เพราะนอกจากหมวกของพ่อบ้านที่เขาสวมใส่ยังมีหมวกอีกใบในฐานะ “สื่อมวลชน” การท้าทายและการตรวจสอบยังเป็นอีกหนึ่งหน้าที่ของเขาต่อไป
4
(อภิวัฒน์ ฉิมพลี)
ใบหน้าของผู้นำเผด็จการถูกจรดการขีดเขียนด้วยน้ำมือของ 'บูม' - 'อภิวัฒน์ ฉิมพลี' ศิลปินเมืองมหาสารคาม ผู้เป็นเจ้าของสตูดิโอที่ชื่อว่า Make art studio เขาเล่าว่าการทำงานศิลปะมันคือการสะท้อนสิ่งที่รู้สึกของเราออกไป
"ในเมื่อพวกเขาบอกว่าเรามีเสีรีภาพ เราก็ต้องพึงเคารพในเสรีภาพของตัวเอง" เขาหล่นความเห็นแบบนั้นเมื่อถูกถามถึงการตกผลึกนึกคิดในการวาดเวียงร้อยเรียงออกมาในภาพวาด มันคงดูย้อนแย้งเมื่ออีกมุมของเวทีคือภาพ จอห์น เลนน่อน ผู้เพรียกหาสันติภาพ ขณะอีกหนึ่งด้านคือ เหมาเจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน
"แต่มันก็ไม่แปลกหรอกเราอยู่กับอะไรละตอนนี้ สังคมมันมีก็ย้อนแย้งถูกไหมละ” เขาพูดให้คนในวงฉุกคิด ก็จริงเราเคยถามตัวเองไหมละว่าทำไมเราถึงยอมจมปลักอยู่กับอำนาจของมาเฟียทางการเมือง
5
"เพื่อนของฉัน" ไม่ว่าจะเป็นนักกิจกรรมหรือศิลปิน รวมถึงสื่อมวลชน พวกเขาล้วนประสานเสียงว่าเราทำไมถึงถูกผูกมัดด้วยข้อจำกัดแบบนี้ มันได้พาฉุกคิดเตือนสติให้ตั้งคำถามว่าเออพวกเรามีจริงหรือเสรีภาพที่เขาพร่ำบอก