ไม่พบผลการค้นหา
สำรวจรายชื่อ อดีต ส.ส. ‘พลังประชารัฐ-ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์’ พบ 209 คนเคยยกมือสนับสนุนแก้รัฐธรรมนูญเพื่อ ‘ปิดสวิตซ์ ส.ว.’ ไม่ให้มีอำนาจเลือกนายกฯ เมื่อปี 2564 ขณะที่หลังเลือกตั้ง 2566 ทั้ง 3 พรรคได้ ส.ส. รวมกัน 136 เสียง และพรรคที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลตอนนี้ยังขาดเสียงสนุบสนุน 64 เสียง

คำถามจึงเกิดขึ้นว่า 3 พรรคที่เคยมองว่า ส.ว.แต่งตั้งไม่ควรมีอำนาจเลือกนายกฯ จะยกมืออย่างไรในการโหวตเลือกนายกฯ รอบนี้ จะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้ประชาธิปไตยเดินหน้าหรือไม่ 

เพราะการเมืองหลังการเลือกตั้งยังไม่มีความชัดเจนว่า 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลจะสามารถผลักดัน ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทยได้หรือไม่ แม้จะผนึกแน่นรวมกันได้มากถึง 312 เสียง

ในระบบการเมืองปกติจำนวนเสียงนี้เพียงพอแล้วสำหรับการเป็นรัฐบาลที่เข้มแข็ง แต่ภายใต้การสืบทอดอำนาจที่ถูกออกแบบไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 ให้ ส.ว.ร่วมโหวตนายกฯ ด้วย ทำให้ยังต้องการอีก 64 เสียงจึงจะเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภาเพื่อรับรองพิธาเป็นนายกรัฐมนตรี

แม้ที่ผ่านมาทางแกนนำพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลจะพยายามพูดคุยทำความเข้าใจกับ ส.ว. แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีสิ่งใดที่ให้ความมั่นใจได้ว่า ส.ว. จะให้การรับรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล 

ในจำนวน 64 เสียงที่ต้องการนี้ ใช่ว่าจะต้องมาจาก ส.ว.เพียงเท่านั้น เสียงเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นจาก ‘สปิริต’ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เช่นกัน โดยการปิดสวิตซ์ ส.ว.หรือยกมือโหวตผ่านการรับรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคเสียงข้างมาก โดยไม่จำเป็นต้องร่วมรัฐบาล 

เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก แต่ในรัฐบาลที่แล้ว เคยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพรรคร่วมรัฐบาลเคยพร้อมใจกันโหวตให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นตัดอำนาจ ส.ว. เลือกนายกฯ เกิดขึ้นมาแล้ว 

ในสมัยการประชุมของรัฐสภาชุดที่ผ่านมา มีการพิจารณาญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีการเสนอให้ตัดอำนาจ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งในการร่วมโหวตรับรองบุคคลผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไปแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง

แน่นอนว่าไม่มีครั้งไหนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไข เพราะกลไกการแก้ไขรัฐธรรมนูญถูกใส่กลอนล็อคไว้แน่นหนา โดยกำหนดให้เป็นการพิจารณาร่วมกับของ ส.ส และ ส.ว. โดยมีเงื่อนไขสำคัญในการรับหลักการวาระที่ 1 จะต้องได้เสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา หรือ 376 เสียง และในจำนวนนี้ต้องมี ส.ว. เกิน 1 ใน 3 หรือ 84 เสียงขึ้นไปด้วย

ในการพิจารณาญัตติเหล่านั้น พบว่า มี 2 ญัตติ (วันที่ 23 มิ.ย.2564) ที่เป็นการเสนอในประเด็นเดียวกันคือ ให้ตัดอำนาจ ส.ว. ในการโหวตรับรองนายกรัฐมนตรี (มาตรา 272) และกำหนดให้เพิ่มผู้ที่มีสิทธิดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากเดิมที่กำหนดไว้ให้เป็นบุคคลที่มีรายชื่อจากการเสนอแคนดิเดตของพรรคการเมือง โดยให้เพิ่มผู้ที่ดำรงตำแหน่ง ส.ส.ไปด้วย (มาตรา 159) 

สองญัตตินี้ถูกเสนอโดยพรรคเพื่อไทยกับพรรคร่วมฝ่ายค้านอันหนึ่ง และพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทยอันหนึ่ง โดยญัตติของพรรคเพื่อไทยฯ ได้รับเสียงเห็นชอบในวาระแรก 445 เสียงถือว่าเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวนเสียงสนับสนุนจาก ส.ว.1 ใน 3 เช่นเดียวกับญัตติของพรรคประชาธิปัตย์ฯ ที่ได้เสียงสนับสนุนมากถึง 461 เสียง

อย่างไรก็ตาม แม้กติกาที่ให้อำนาจ ส.ว. โหวตรับรองนายกฯ จะยังไม่ถูกแก้ไขเพราะติดด่าน ส.ว. แต่ก็ทำให้ได้ข้อสรุปว่า มี ส.ส.เกินกว่าครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นด้วยกับการกติการดังกล่าว

มากไปกว่านั้นในจำนวนเสียงเหล่านี้คือเสียงจาก ส.ส. จากฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลเดิม โดยเฉพาะ 3 พรรคเสาหลัก พลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์ รวมทั้งสิ้น 209 เสียง ข้อมูลจาก  iLaw ระบุว่าแบ่งเป็น 

  • พรรคพลังประชารัฐ 102 เสียง จากทั้งหมด 119 เสียง 
  • พรรคภูมิใจไทย 60 เสียงจากทั้งหมด 61 เสียง 
  • พรรคประชาธิปัตย์ 47 เสียง จากทั้งหมด 48 เสียง

ขณะที่การเลือกตั้งล่าสุดปี 2566 ปรากฎว่าจำนวนที่นั่ง ส.ส. ของทั้ง 3 รวมแล้วมี 136 เสียง แบ่งเป็น

  • พรรคพลังประชารัฐ 40 คน 
  • พรรคภูมิใจไทย 71 คน 
  • พรรคประชาธิปัตย์ 25 คน 


รายละเอียดของ ส.ส.ที่ไฟเขียวให้ ‘ปิดสวิตช์ ส.ว.’ ในการโหวตนายกฯ เมื่อปี 2564 เป็นดังนี้ 

พรรคพลังประชารัฐ มี 102 คน (17 คนงดออกเสียง)

  1. กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา * งดออกเสียง
  2. กรุงศรีวิไล สุทินเผือก * งดออกเสียง
  3. กฤษณ์ แก้วอยู่ * งดออกเสียง
  4. กษิดิ์เดช ชุติมันต์ * งดออกเสียง
  5. กัลยา รุ่งวิจิตรชัย * งดออกเสียง
  6. กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ * งดออกเสียง
  7. กุลวลี นพอมรบดี * งดออกเสียง
  8. เกษม ศุภรานนท์ * งดออกเสียง
  9. จองชัย วงศ์ทรายทอง * งดออกเสียง
  10. จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ * งดออกเสียง
  11. จักรพันธ์ พรนิมิตร * งดออกเสียง
  12. จักรัตน์ พั้วช่วย * งดออกเสียง
  13. จีรเดช ศรีวิราช * งดออกเสียง
  14. เจริญ เรี่ยวแรง * งดออกเสียง
  15. ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ * งดออกเสียง
  16. ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ * งดออกเสียง
  17. ชาญวิทย์ วิภูศิริ
  18. ชูศักดิ์ คีรีมาศทอง
  19. เชิงชาย ชาลีรินทร์
  20. โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
  21. ฐนภัทร กิตติวงศา
  22. ฐานิสร์ เทียนทอง
  23. ฐาปกรณ์ กุลเจริญ
  24. ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์
  25. ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์
  26. ตรีนุช เทียนทอง
  27. ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ
  28. ทัศนาพร เกษเมธีการุณ
  29. ทัศนียา รัตนเศรษฐ
  30. ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์
  31. ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์
  32. ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ
  33. ธรรมนัส พรหมเผ่า
  34. ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
  35. นัทธี ถิ่นสาคู
  36. นิพันธ์ ศิริธร
  37. นิโรธ สุนทรเลขา
  38. บุญยิ่ง นิติกาญจนา
  39. บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์
  40. ปฐมพงศ์ สูญจันทร์
  41. ประทวน สุทธิอำนวยเดช
  42. ประสิทธิ์ มะหะหมัด
  43. ปริญญา ฤกษ์หร่าย
  44. ปัญญา จีนาคำ
  45. ไผ่ ลิกค์
  46. พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ
  47. พยม พรหมเพชร
  48. พรชัย อินทร์สุข
  49. พรชัย ตระกูลวรานนท์
  50. พรรณสิริ กุลนาถศิริ
  51. พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์
  52. พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ
  53. พิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์
  54. เพชรภูมิ อาภรณ์รัตน์
  55. ไพบูลย์ นิติตะวัน
  56. ไพลิน เทียนสุวรรณ
  57. ภริม พูลเจริญ
  58. ภาคภูมิ บูลย์ประมุข
  59. ภาดาท์ วรกานนท์
  60. ภิญโญ นิโรจน์
  61. ภูดิท อินสุวรรณ์
  62. มณเฑียร สงฆ์ประชา
  63. มานัส อ่อนอ้าย
  64. ยงยุทธ สุวรรณบุตร
  65. ยุทธนา โพธสุธน
  66. รงค์ บุญสวยขวัญ
  67. รณเทพ อนุวัฒน์
  68. วทันยา วงษ์โอภาสี
  69. วัชระ ยาวอหะซัน
  70. วัฒนา สิทธิวัง
  71. วัฒนา ช่างเหลา
  72. วันชัย ปริญญาศิริ
  73. วันเพ็ญ พร้อมพัฒน์
  74. วิเชียร ชวลิต
  75. วิรัช รัตนเศรษฐ
  76. วีระกร คำประกอบ
  77. ศาสตรา ศรีปาน
  78. ศิริพงษ์ รัสมี
  79. สมเกียรติ วอนเพียร
  80. สมชาย วิษณุวงศ์
  81. สมบัติ อำนาคะ
  82. สมพงษ์ โสภณ
  83. สมศักดิ์ คุณเงิน
  84. สมศักดิ์ พันธ์เกษม
  85. สมศักดิ์ เทพสุทิน
  86. สรวุฒิ เนื่องจำนงค์
  87. สะถิระ เผือกประพันธุ์
  88. สัญญา นิลสุพรรณ
  89. สัณหพจน์ สุขศรีเมือง
  90. สันติ พร้อมพัฒน์
  91. สันติ กีระนันทน์
  92. สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ
  93. สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์
  94. สาธิต อุ๋ยตระกูล
  95. สายัณห์ ยุติธรรม
  96. สิระ เจนจาคะ
  97. สุชาติ ชมกลิ่น
  98. สุชาติ ตันเจริญ * งดออกเสียง เป็นรองประธาน
  99. สุชาติ อุสาหะ
  100. สุทา ประทีป ณ ถลาง
  101. สุพล ฟองงาม
  102. สุรชาติ ศรีบุศกร
  103. สุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์
  104. สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์
  105. สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
  106. สุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์
  107. สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
  108. อธิรัฐ รัตนเศรษฐ
  109. อนันต์ ผลอำนวย
  110. อนุชา น้อยวงศ์
  111. อนุชา นาคาศัย
  112. อรรถกร ศิริลัทธยากร
  113. อรุณ สวัสดี
  114. อัครวัฒน์ อัศวเหม
  115. อัฏฐพล โพธิพิพิธ
  116. อาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ
  117. อาดิลัน อาลีอิสเฮาะ
  118. เอกราช ช่างเหลา
  119. เอี่ยม ทองใจสด


พรรคภูมิใจไทย 60 คน ( 1 คนงดออกเสียง)

  1. กรวีร์ ปริศนานันทกุล
  2. กฤติเดช สันติวชิระกุล
  3. กิตติชัย เรืองสวัสดิ์
  4. เกียรติ เหลืองขจรวิทย์
  5. เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
  6. คงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์
  7. จักรกฤษณ์ ทองศรี
  8. เจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์
  9. ฉลอง เทอดวีระพงศ์
  10. ชยุต ภุมมะกาญจนะ
  11. ชาดา ไทยเศรษฐ์
  12. โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี
  13. ฐิตินันท์ แสงนาค
  14. ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ
  15. ไตรเทพ งามกมล
  16. ธนยศ ทิมสุวรรณ
  17. บุญลือ ประเสริฐโสภา
  18. ปกรณ์ มุ่งเจริญพร
  19. พรชัย อำนวยทรัพย์
  20. พิบูลย์ รัชกิจประการ
  21. พิษณุ พลธี
  22. เพชรดาว โต๊ะมีนา
  23. ภราดร ปริศนานันทกุล
  24. ภูมิศิษฏ์ คงมี
  25. มณฑล โพธิ์คาย
  26. มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช
  27. มานพ ศรีผึ้ง
  28. มารุต มัสยวาณิช
  29. ยศวัฒน์ มาไพศาลสิน
  30. รังสิกร ทิมาตฤกะ
  31. รุ่งโรจน์ ทองศรี
  32. วรศิษฎ์ เลียงประสิทธิ์
  33. วิรัช พันธุมะผล
  34. วิสิทธิ์ พิทยาภรณ์
  35. ศรีนวล บุญลือ
  36. ศักดิ์สยาม ชิดชอบ
  37. ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์
  38. ศุภชัย ใจสมุทร
  39. ศุภชัย โพธิ์สุ *งดออกเสียง รองประธานสภา
  40. ศุภมาส อิศรภักดี 
  41. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
  42. สนอง เทพอักษรณรงค์
  43. สมเจตน์ ลิมปะพันธุ์
  44. สมบูรณ์ ซารัมย์
  45. สรอรรถ กลิ่นประทุม
  46. สฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง
  47. สฤษดิ์ บุตรเนียร
  48. สวาป เผ่าประทาน
  49. สำลี รักสุทธี
  50. สิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ
  51. สุชาติ โชคชัยวัฒนากร
  52. สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
  53. โสภณ ซารัมย์
  54. อดิพงษ์ ฐิติพิทยา
  55. อนาวิล รัตนสถาพร
  56. อนุทิน ชาญวีรกูล
  57. อภิชา เลิศพชรกมล
  58. อับดุลบาซิม อาบู
  59. อาสพลธ์ สรรณ์ไตรภพ
  60. อำนาจ วิลาวัลย์
  61. เอกการ ซื่อทรงธรรม


พรรคประชาธิปัตย์ 47 คน ( 1 คนงดออกเสียง)

  1. กนก วงษ์ตระหง่าน
  2. กันตวรรณ ตันเถียร
  3. เกียรติ สิทธีอมร
  4. จิตภัสร์ กฤดากร
  5. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
  6. ชวน หลีกภัย * งดออกเสียง ประธานสภา
  7. ชัยชนะ เดชเดโช
  8. ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
  9. ชินวรณ์ บุณยเกียรติ
  10. เดชอิศม์ ขาวทอง
  11. เทอดพงษ์ ไชยนันทน์
  12. ธารา ปิตุเตชะ
  13. ธีรภัทร พริ้งศุลกะ
  14. นริศ ขำนุรักษ์
  15. แนน บุณย์ธิดา สมชัย
  16. บัญญัติ เจตนจันทร์
  17. บัญญัติ บรรทัดฐาน
  18. ประกอบ รัตนพันธ์
  19. ประมวล พงศ์ถาวราเดช
  20. พนิต วิกิตเศรษฐ์
  21. พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล
  22. พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล
  23. พิสิฐ ลี้อาธรรม
  24. ภานุ ศรีบุศยกาญจน์
  25. มนตรี ปาน้อยนนท์
  26. รังสิมา รอดรัศมี
  27. วชิราภรณ์ กาญจนะ
  28. วิวรรธน์ นิลวัชรมณี
  29. วีระชัย วีระเมธีกุล
  30. วุฒิพงษ์ นามบุตร
  31. ศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
  32. ศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
  33. สมชาติ ประดิษฐพร
  34. สราวุธ อ่อนละมัย
  35. สาคร เกี่ยวข้อง
  36. สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
  37. สาธิต ปิตุเตชะ
  38. สินธพ แก้วพิจิตร
  39. สินิตย์ เลิศไกร
  40. สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ
  41. สุทัศน์ เงินหมื่น
  42. สุรินทร์ ปาลาเร่
  43. องอาจ คล้ามไพบูลย์
  44. อภิชัย เตชะอุบล
  45. อัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์
  46. อันวาร์ สาและ
  47. อัศวิน วิภูศิริ
  48. อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ