ไม่พบผลการค้นหา
ในช่วงที่ผ่านมาการแถลงนโยบายรัฐบาลให้ประชาชนได้รับทราบนั้น ก็คงทำให้ประชาชน ได้ทราบว่านโยบายของฝ่ายรัฐบาลจะแก้ปัญหาประเทศได้หรือไม่ ในฐานะฝ่ายค้าน ก็คือทำหน้าที่มองว่า มีอะไรที่ “หายไป” และไม่ถูกพูดถึงในนโยบาย หรือ ถูกพูดถึงเพียงแค่ผิวเผิน เพราะว่าสิ่งที่ “หายไป” คือกุญแจสำคัญของ “สิทธิ ของประชาชน เศรษฐกิจของประเทศ และ ภาษีที่รัฐจะได้”

“เศรษฐกิจฝืดเคือง เพราะคนจนไม่เสียภาษี” 

เป็นคำพูดของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่แสดงความเห็นออกมา ในวันแถลงนโยบาย คำพูดนี้สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และที่สำคัญไปกว่านั้น อะไรทำให้นายกรัฐมนตรีมีความคิดแบบนี้ได้ ฉันขอใช้พื้นที่ บันทึก ส.ส. กะเทยของฉัน เพื่อแสดงความเห็นและข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า เรื่องที่นายกกล่าว “ไม่เป็นความจริงเลย” เพราะในความเป็นจริงนั้น 

“เราซื้อยาสีฟัน 1 หลอด ก็เสียภาษีแล้ว”

ฉันขออ้างอิงข้อมูลจาก คุณพงษ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ จากบทความของ The Matter เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ว่ารายได้ 2,230,000 ล้านบาท ของรัฐจากการจัดเก็บภาษีมีดังนี้ 

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดเป็น 15 % ของภาษีทั้งหมด

2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดเป็น 29% ของภาษีทั้งหมด

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการซื้อสินค้า คิดเป็น 37 % ของภาษีทั้งหมด

4. ภาษีอาการประเทศอื่น ๆ เช่น ภาษีธุรกิจเฉพาะ น้ำมัน การส่งออก และ นำเข้า คิดเป็น 19 % ของภาษีทั้งหมด

จากข้อมูลดังกล่าว เราต่างเข้าใจได้ทันทีว่าคนทุกคนเสียภาษี และคำถามต่อมาคือ เมื่อเราเสียภาษีกันทุกคน และ กฎหมายและสิทธิทำไมจึงยังไม่เท่ากัน และเมื่อสิทธิทางกฎหมาย ยังไม่เท่ากัน ก็ย่อมส่งผลต่อการจัดเก็บภาษีได้น้อย และเมื่อจัดเก็บภาษีได้น้อย งบประมาณแผ่นดิน ก็จะต้องอยู่ในวงวนแบบนี้ต่อไป 

“ฉันคิดว่า นายกประยุทธ์ มองคนจน และคนชายขอบเป็นภาระของประเทศ แต่ไม่ได้มองว่าประชาชนคือสินทรัพย์” 

นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด 

จากรายงานของ World Bank ธนาคารโลก เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2561 รายงานเกี่ยวกับ “การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ <LGBTI> สะท้อนกลุ่ม คนชายของทั้งหมด ไม่เพียงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ว่าการเข้าถึงสิทธินั้น มีผลโดยตรง กับการจัดเก็บภาษีของรัฐ หากมีการเลือกปฏิบัติ หรือ ยังมองบุคคลดังกล่าวเป็นภาระ หรือ มองว่า “เกิดมาได้แค่นี้ก็บุญแล้ว” ก็ยิ่งทำให้การจัดเก็บภาษีไม่ได้

มีสถานที่ในประเทศไทย ยังเลือกปฏิบัติไม่ให้คนข้ามเพศเข้าใจบริการ มันเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ แต่ในอีกทางหนึ่ง การเลือกปฏิบัติดังกล่าว ทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากการบริโภคได้

การสมรสเฉพาะชายหญิง ไม่ครอบคลุมทุกเพศอย่างแท้จริง เป็นการเลือกปฏิบัติ และกฎหมายทีออกมาบุคคลไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์นีได้ทุกคน ซึ่งปัจจัยในการซื้อบ้าน ซื้อรถ และการเติมเต็มครอบครัวของคนเหล่านี้ ก็เท่ากับว่า รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษี และธนาคารควรมีรายได้ จากการปล่อยกู้ได้มากกว่าที่เป็น

อคติจากเรื่องเพศ รูปร่าง หน้าตา ไม่คำนึงถึงความสามารถที่แท้จริง ทำให้ถูกปฏิเสธ จากการว่าจ้าง ก็เท่ากับว่า องค์กรดังกล่าวกำลังลดกำลังซื้อในประเทศ โดยรัฐไม่สามารถ จัดเก็บภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ และที่สำคัญอาจเป็นการปิดกั้นความคิด ที่อาจซ่อนอยู่ในตัวบุคคล ที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กร และ ประเทศ 

สวัสดิการรัฐยังไม่ครอบคลุม ก็ย่อมทำให้กำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ 

ด้วยปัจจัยการมองประชาชนบางกลุ่ม เป็น “ภาระ” หรือ “ไม่ควรค่า” กับสิทธินั้น ๆ ในประเทศ ย่อมเป็นอันตรายต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมายาคติในสังคมไทยก็ยังถูกครอบงำด้วย “เหม็นคนจน” “อีบ้านนอก” “อีตุ๊ด” “อีลักเพศ” “อีอ้วน” “อีหน้าผี” ก็ยิ่งทำให้รัฐ สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมาก 

จากเหตุการณ์ครูบอล ที่ถูกมองว่าเป็น “ขยะ” ครูข้ามเพศที่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ฉันได้มีโอกาสรับหนังสือเมื่อวันที่ครูบอลมายื่นที่สภา และมีโอกาสพูดคุยถึงอนาคตว่าเธอจะ ก้าวเดินไปอย่างไร เหตุการณ์การมองคนเป็น “ขยะ” นี้ทำให้ศักดิ์และศรีความเป็นมนุษย์ถูกลดทอน และ แน่นอนที่สุด ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย

จากรายงาน LGBT Capital เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ประเทศไทยมี บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย มีจำนวน 4.8 ล้านคน และที่ยังไม่เปิดเผยตัวตนจึงมีการคาดการณ์ว่าเป็นไปได้ถึง 7 ล้านคน

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
ครูธัญ - ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น นักกิจกรรมส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ และสส ปาร์ตี้ลิส ลำดับที่ 25 พรรคอนาคตใหม่
1Article
0Video
14Blog