ไม่พบผลการค้นหา
ป.ป.ช.ชวนเอกชนต่างชาติ ต่อต้านการให้สินบน ชู พ.ร.บ. ปราบทุจริตมาตรา 176 ป้องกันเอกชนจ่ายใต้โต๊ะ พร้อมเสนอระบบลอว์เฟิร์มช่วยการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.จัดสัมนาการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตร่วมกับหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการให้สินบนภาคเอกชนและสาระสำคัญการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 176 ที่กำหนดโทษจำคุก 5 ปี ปรับสูงสุด 1 เเสนบาท สำหรับผู้ที่ให้หรือรับว่าจะให้สินบนพนักงานของรัฐ,เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศหรือเจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ เพื่ออนุวัติการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต 2003 (UNCAC)

นายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า การค้าการลงทุนยุคปัจจุบันกินขอบเขตกว้างขวางทั่วโลก จำเป็นต้องมีมาตรการต่างๆมาป้องกันการทุจริตในภาคธุรกิจ โดยเห็นว่าควรนำระบบ ลอว์เฟิร์ม หรือ ที่ปรึกษาหรือสำนักงานกฎหมายที่ให้คำปรึกษา,ให้บริการลูกค้า/ลูกความที่ส่วนมากจะเป็นลูกค้าชาวต่างชาติ มาใช้ในการดำเนินการธุรกรรมต่างๆ ที่จะช่วยขจัดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันระหว่างภ��คธุรกิจด้วยกัน และภาครัฐที่เปิดให้ต่างชาติมาลงทุน ปัจจุบันแม้หลายธุรกิจจะมีระบบลอว์เฟิร์ม แต่ไทยเองก็ยังไม่มีกฎหมายรองรับ 

Mr.Stanley Kong ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย ระบุว่ามีความจำเป็นต้องลดความเป็นไปได้ที่จะทุจริตและลดความคิดที่ว่าการให้สินบนเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือความคิดที่ว่าจะสูญเสียโอกาสในธุรกิจหากไม่จ่ายสินบน โดยเชื่อว่าด้วยกฎหมายที่ดีขึ้น และการบังคับใช้ทีมีประสิทธิภาพ ทั้งการใช้ทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้รัฐเป็น e-goverment จะสร้างมาตรฐานในเรื่องนี้ได้ โดยหวังจะทำงานร่วมกันเพื่อบรรยากาศที่ดีในการค้าการลงทุน 

ด้านรองศาสตราจารย์ สิริลักษณา คอมันตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ สำนักงาน ป.ป.ช. ระบุว่าไทยมี พรบ.ใหม่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ที่แต่ก่อนเป็นเพียงระเบียบข้อบังคับเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ง่ายในการขยายผลบังคับใช้ที่เข้มงวดและเป็นมาตรฐานสากล เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มีข้อกำหดว่าต้องให้คนภายนอกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมสังเกตการณ์การจัดซื้อจัดจ้าง ขณะที่สมาคมวิศวกรรม มีการกำหนดมาตรฐานวัสดุก่อสร้างซึ่งต้องสมเหตุสมผลทั้งชนิดของวัสดุและราคาในการก่อสร้าง

โดยกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 176 ที่เพิ่งผ่านออกมานั้นเป็นตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งปีที่ผ่านมาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับเอกชนต่างชาติที่อื้อฉาวอย่างคดี สินบนการบินไทย ล็อบบี้จัดซื้อ เครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ 3 โดยกฎหมายใหม่จะมีมาตรการยกเลิกใบอนุญาตและบังคับให้ต้องให้ข้อมูลทุจริตสำหรับเอกชนที่จ่ายสินบน มีการลงโทษทั้งพนักงานลูกจ้าง,ตัวแทน หรือคนกลางที่ให้สินบน โดยต้องมีการพิสูจน์ว่าได้รับประโยขน์ทางใดทางหนึ่ง และนิติบุคคลนั้นต้องรับผิดในทางอาญาด้วย นอกจากมีมาตรการเพียงพอในการป้องกัน  

สำหรับมาตรการที่เพียวพอนั้นรองศาสตราจารย์ สิริลักษณา กล่าวว่า มีหลักการ 8 ข้อคือ ผู้บริหารจริงจังและต่อต้านการให้สินบนมีนโยบายชัดเจนต่อต้านให้สินบน , การประเมิณความเสี่ยง,หากความเสี่ยงสูงต้องมีรายละเอียดมาตรการที่ชัดเจน,ต้องนำมาตรการป้องกันการให้สินบนไปปรับใช้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับนิติบุคคล,ระบบบัญชีที่ดี,การบริหารทรัพยากรบุคคให้สอดคล้องกับมาตรการ,สนับสนุนให้มีการรายงานความผิดหรือเหตุน่าสงสัย,ต้องทบทวนตรวจสอบและประเมิณผลเป็นระยะ กระทั่งให้มาตรการป้องกันการให้สินบนนี้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร และ ป.ป.ช.มีการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว 

ส่วนการรับของขวัญต่างๆ พนักงานต้องทำรายงานถึงรายละเอียด ซึ่งจะทำให้ลดความสุ่มเสี่ยงและพนักงานอาจไม่รับของขวัญในที่สุดเพราะไม่อยากยุ่งยากกับการทำรายงาน สำหรับภาครัฐของไทยมีกฎหมายอื่นกำหนดไม่ให้รับของขวัญอยู่แล้ว เว้นแต่โอกาสพิเศษอย่างวันคล้ายวันเกิด,วันปีใหม่หรือสงกรานต์ตามประเพณี แต่ต้องไม่เกิน 3,000 บาทและไม่ถี่เกินไป ไม่ใช่รับหรือให้ของขวัญกันทุกวัน ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยลดช่องการให้และรับสินบนของข้าราชการไทย