ตีแผ่กระทั่ง “ตั๋ว สร.1” ยันไปถึง “ตั๋วช้าง” ก่อนจะปิดท้ายการอภิปรายอันเผ็ดร้อน ท่ามกลางเสียงประท้วงของหน่วยประท้วงฝ่ายรัฐบาล
“ในการทำหน้าที่ส.ส. ผมรู้ว่าครั้งนี้เป็นการทำหน้าที่อันตรายที่สุดในชีวิต แต่เมื่อประชาชนเลือกมาแล้วก็ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ผมไม่รู้ว่าผลจากการทำหน้าที่ในวันนี้จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ ไม่รู้ว่า 3 วันข้างหน้ามีอะไรรออยู่ ไม่รู่ว่า 3 เดือนข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น จะยังพูดแทนประชาชนได้หรือไม่ แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมก็ไม่เสียใจที่ได้ทำหน้าที่ของผมในวันนี้” รังสิมันต์ กล่าว
จุดไฟม็อบราษฎร ชุมนุมภายใต้อีเวนต์ "ม็อบตำรวจล้มช้าง #ผู้พิทักษ์สันติราษฎรจะฟาดตั๋วช้าง" ไปแจกใบ “ตั๋วช้าง” ถึงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อนจะสลายตัวไปในเวลา 20.20 น. ในวันที่ 23 ก.พ.ที่ผ่านมา
แต่แล้วในวันที่ 24 ก.พ. ปมปฏิรูปองค์กรตำรวจ ผ่านร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.... ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ จะขยับเข้ามาสู่ที่ประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 260 หมวดปฏิรูป จะถูกพิจารณาโดยที่ประชุมรัฐสภา เป็นวาระแรก ให้เวลายาวนานถึง 3 ชั่วโมง
เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 ง. ด้านกระบวนการยุติธรรม (4)เขียนกำกับเรื่องการปฏิรูปตำรวจไว้ว่า
“ในการพิจารณาแต่งตั้งและโยกย้ายต้องคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ ความสามารถประกอบกัน เพื่อให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพได้อย่างมีอิสระ ไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของบุคคลใด มีประสิทธิภาพและภาคภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตน จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ”
ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.... จึงถูกยกเครื่องใหม่ ไฮไลต์สำคัญที่ปฏิรูปองค์กรตำรวจที่มีอัตรากำลัง 280,000 อัตรา แต่บรรจุจริง 210,000 อัตรา อาทิ
มาตรา 53 แบ่งกลุ่มตำรวจเป็น 5 สายงาน 1.กลุ่มอำนวยการ 2.กลุ่มธุรการและการสนับสนุน 3.กลุ่มสอบสวน 4.กลุ่มป้องกันและปราบปราม 5.กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ
คืนภารกิจที่ไม่ใช่บางภารกิจ เช่น ตำรวจป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ตำรวจที่ดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โอนกลับไปหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด
เช่น มาตรา 155 เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้กองบังคับการตำรวจรถไฟเป็นอันยุบ มาตรา 156 ภารกิจของตำรวจรถไฟก่อนหน้านี้ ให้โอนไปเป็นของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจหรือในกองบังคับการ ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด
มาตรา 158 ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนงานจราจร เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับ การอำนวยความสะดวกในการจราจร การกวดขันวินัยจราจร และการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วย การจราจรทางบกในความผิดฐานจอดรถโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย ให้แก่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาลนคร
ขณะที่มาตรา 74 ได้กำหนดการ “เลื่อนตำแหน่ง” ของข้าราชการตำรวจไว้ให้ยึดหลักพิจารณา ไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้
ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และจเรตำรวจแห่งชาติลงมาถึงผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและรองจเรตำรวจแห่งชาติให้พิจารณาเรียงตามลำดับอาวุโส
ระดับผู้บัญชาการและจเรตำรวจลงมาถึงผู้บังคับการ ให้พิจารณาจากผู้เหมาะสม เรียงตามลำดับอาวุโสจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนตำแหน่งว่างในแต่ละระดับ
ระดับรองผู้บังคับการลงมาถึงสารวัตร ให้พิจารณาเรียงตามอาวุโสจำนวนร้อยละ 33
อย่างไรก็ตาม หากยึดข้อมูลการอภิปรายไม่ไว้วางใจของ “รังสิมันต์ โรม” แห่งก้าวไกล ในสภา มีนายตำรวจระดับ “บิ๊ก” 2 นาย ได้รับการ “ยกเว้น” หลักเกณฑ์ของกฎ ก.ตร. ได้เลื่อนขั้นแบบ “ขึ้นลิฟท์” นั้น
ในร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนี้ ยังคงกำหนดไว้ให้ ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ยกเว้นหลักเกณฑ์ได้ แต่ต้องใช้เสียงเอกฉันท์ ตามมาตรา 80
“ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก.ตร.จะมีมติด้วยคะแนนเสียง เป็นเอกฉันท์ เพื่อแต่งตั้งบุคคลใดให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการตำรวจแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในหมวดนี้ก็ได้”
นอกจากนี้ ในมาตรา มาตรา 25 กำหนดให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.ค.ตร.” องค์ประกอบ 7 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่ตำรวจ การสรรหามาจาก ประธานศาลปกครอง รองประธานศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่ไม่ใช่ตำรวจ มาประกอบเป็น ก.พ.ค.พิจารณา รับเรื่องร้องเรียนจากตำรวจในเรื่องการ
สอดรับกับมาตรา 79 หาก ตำรวจคนไหนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเรียงลำดับอาวุโสหรือในการแต่งตั้ง ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค.ตร. ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งแต่งตั้ง
และ ก.พ.ค.ตร. พิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องทุกข์ คำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.ตร. ให้เป็นที่สุด เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ร้องทุกข์ “ไม่พอใจ” ในคำวินิจฉัย ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาของ ก.พ.ค.ตร
ใช้แก้ปัญหาระบบ “ตั๋วตำรวจ” เว้นแต่ตั๋วนั้น เป็นตั๋วที่ ก.ตร.มิอาจปฏิเสธได้ และยกเว้นให้โดย “มติเอกฉันท์”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง