วิกฤตนิวเคลียร์เมื่อปี 2011 ได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของปศุสัตว์ เพราะจำนวนสัตว์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากสารกัมมันตรังสี แต่ล่าสุดนักวิจัยได้เข้ามาช่วยเหลือเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์ให้มากขึ้น
หลังจากเกิดเกิดวิกฤตนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เมืองฟุกุชิมะ ไดอิจิ เมื่อวันที่11 มีนาคม ปี 2011 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากเหตุสึนามิที่สร้างความเสียหายให้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้เกิดสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมาในพื้นที่ใกล้เคียง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่ปศุสัตว์ เพราะจำนวนสัตว์ลดลงอย่างรวดเร็ว จากการล้มตายเพราะเหตุสึนามิและการรับเอาสารกัมมันตรังสีเข้าไปด้วย
เดิมในพื้นที่เลี้ยงสัตว์ของฟุกุชิมะนี้ มีจำนวนสัตว์อยู่ราว 3,500 ตัว แต่ตอนนี้เหลือเพียง 200 ตัว ซึ่งทีมนักวิจัยจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสำหรับสัตว์อพยพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการวิจัยเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์ให้มากชึ้น และศึกษาถึงผลกระทบระยะยาวจากสัตว์ที่ได้รับสารกัมมันตรังสี จากการปนเปื้อนอาหารที่กิน หรือสัมผัสสิ่งของที่มีสารกัมมันตรังสี
นักวิจัยจะเข้ามาที่ฟาร์มซึ่งสร้างขึ้นเป็นเขตคุ้มครองสัตว์ ทุกๆ 3 เดือน ซึ่งตั้งอยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เพื่อตรวจสอบสัตว์และศึกษาผลกระทบจากสารกัมมัตรังสี ที่มีการถ่ายทอดพันธุกรรมจากแม่สู่ลูก ทำให้ลูกสัตว์หลายตัว ยังคงมีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนในร่างกาย ทำให้บางตัวมีผิวหนังที่เปลี่ยนสีไป
ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2012 รัฐบาลที่ญี่ปุ่นได้สั่งฆ่าสัตว์ทุกตัวในเขตที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตนิวเคลียร์ เนื่องจากกลัวการขยายพันธุ์ แต่ทีมนักวิจัยไม่เห็นด้วย และพยายามรักษาชีวิตของสัตว์ที่เหลืออยู่จนทุกวันนี้
ผลจากการวิจัยทำให้จำนวนสัตว์ค่อยๆเพิ่มปริมาณมากขึ้น แต่ก็ยังมีสัตว์บางตัวที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวเนื่องจากสารกัมมันตรังสี อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังคงคิดค้นวิธีรักษา และการป้องกันในระยะยาว เพื่อให้สัตว์ในเขตคุ้มครองเหล่านี้ได้มีชีวิตอยู่ต่อไป