ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - จีนยังนิยมซื้อคอนโดในไทยต่อเนื่อง - Short clip
Day Break - กรมขนส่งทางบกชี้ เพิ่มโทษไม่พกใบขับขี่ยังไม่มีผล - Short Clip
Day Break - BTS เพิ่ม 50 ตู้จ่ายตั๋วรับธนบัตรภายในปีนี้ - Short Clip
Day Break - ไต้หวันเข้มวีซ่าไทย อาจเที่ยวได้ 2 ครั้งต่อปี - Short Clip
Day Break - 'กระเบนราหู' หนังไทยเรื่องแรกที่คว้ารางวัลเทศกาลเวนิส - Short Clip
Day Break - ขสมก.ทดลองวิ่งรถเมล์ไฟฟ้าใน 6 เส้นทาง - Short Clip
Day Break - 'ยุทธการต้านมะเร็ง' รู้ก่อนปลอดภัยกว่า - Short Clip
Day Break - 'พะโล้-ต้มจับฉ่าย-ขนมจีนน้ำยา' เมนูเจโซเดียมสูง- Short Clip
Day Break - 20 ส.ค. ดีเดย์สูบบุหรี่กระทบคนในบ้านผิดกม. - Short Clip
Day Break - ปั่นต้านมะเร็งเต้านม - Short Clip
Day Break - พบผัก-ผลไม้ในห้าง มีสารตกค้างหนักกว่าตลาดสด - Short Clip
World Trend - 'สลัดผักพร้อมกิน' มื้อด่วนฮิตในเกาหลีใต้ - Short Clip
Day Break - เดินหน้า 5G เทคโนโลยีขับเคลื่อนโลก - Short clip
Day Break - เตรียมจัดงานหนังสือฯ ชูแนวคิด 'อ่านออกเสียง' - Short Clip
Day Break - ตลาดทวิตเตอร์ไทยเติบโตเร็วสุดในโลก - Short clip
Day Break - สัปดาห์ลดการบริโภคเค็มโลก - Short clip
Day Break - MG เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่แรง 1.19 ล้าน - Short Clip
Day Break - กทม. เก็บค่าจอดรถ 66 เส้นทาง ตั้งแต่ 5 - 80 บาท - Short Clip
Day Break - NetCare ตัวช่วยของพ่อแม่ ดูแลหน้าจอลูก - Short Clip
Day Break - Depa เตรียมชงขยายลดหย่อนภาษี 200% อีก 3 ปี - Short Clip
Day Break - แพทย์จุฬาฯ ต่อยอดวิจัยยาต้านมะเร็ง - Short Clip
Oct 27, 2018 07:48

ข่าวดีของคนไทย เมื่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสภากาชาดไทย เปิดตัวงานวิจัยรักษาโรคมะเร็งโดยการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งเป็นวิธีใหม่ เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยไทยเข้าถึงการรักษาในราคาที่ถูกลง

อาจารย์ นายแพทย์ ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วิธีการรักษาด้วยการบำบัดภูมิคุ้มกัน จะเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โดยปกติแล้ว ตามกลไกธรรมชาติ ร่างกายมีเม็ดเลือดขาวที่คอยกำจัดเชื้อโรคหรือเซลล์มะเร็งอยู่แล้ว แต่เซลล์มะเร็งเองก็มีการต่อต้านการทำงานของเม็ดเลือดขาวเช่นกัน ปัจจุบัน จึงมีการพัฒนายาที่ชื่อว่า 'ยาภูมิต้านมะเร็ง' (Biologics) เพื่อช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่ายกายผู้ป่วยให้กลับมาต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูง และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดหรือยามุ่งเป้า 

ทั้งนี้ จากการทดลอง 'ยาภูมิต้านมะเร็ง' ส่วนใหญ่จะใช้กับผู้ป่วยที่รักษาไม่หาย และได้ผลเฉลี่ย 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นตัวเลขที่น้อย แต่ถ้าเทียบปัจจัยที่ผู้ป่วยลองรักษามาทุกวิธีแล้ว ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงและยังมีความหวัง ปัจจุบันมีการรับรองให้ใช้รักษามะเร็งแล้วกว่า 15 ชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้ผลกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และมะเร็งผิวหนังที่ได้ผลกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

ปัจจุบันงานวิจัยอยู่ในเฟสที่หนึ่ง คือ ผลิตยาแอนติบอดี้ต้นแบบจากหนูทดลอง ซึ่งจะสำเร็จเป็นตัวยาและทดลองใช้ในคนได้ในปี 2566 ส่วนสาเหตุที่ต้องผลิต 'ยาภูมิต้านมะเร็ง' ขึ้นมาเอง เนื่องจากยาที่ใช้สำหรับภูมิคุ้มกันบำบัด ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 100 เปอร์เซ็นต์ การฉีดแต่ละครั้งจึงมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสน 5 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท และต้องฉีดต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี แต่การผลิตดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายในการฉีดหลักหมื่นบาทต่อครั้ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงการรักษามากขึ้น

สำหรับคุณผู้ชมที่อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อต่อยอดการวิจัยยาต้านมะเร็ง สามารถบริจาคให้กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ ผ่านบัญชีออมทรัพย์คณะแพทยศาสตร์ เลขที่บัญชี 408-004443-4 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย โดยสามารถนำใบเสร็จไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog