ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'วอลมาร์ต' ได้สิทธิบัตรระบบดักฟังในร้านค้าปลีก - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอน โก' ต้นแบบความสำเร็จของร้านค้าไร้แคชเชียร์ - Short Clip
World Trend - 'ยูทูบเบอร์' ด้านความงามถูกจ้างให้รีวิวสินค้าโจมตีคู่แข่ง - Short Clip
World Trend - จักรยานไฟฟ้า เทรนด์ฮิตในอเมริกา - Short Clip
World Trend - มัสก์ เปลี่ยนชื่อยาน 'บิ๊กฟอลคอน' เป็น 'สตาร์ชิป' - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอน' แซง 'แอปเปิล' เป็นบริษัทมูลค่าสูงสุด - Short Clip
World Trend - 'โทรแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย' ข้อจำกัดของลำโพงอัจฉริยะ - Short Clip
World Trend - แอมะซอนกับการปรับค่าแรงเอาชนะคู่แข่ง - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอน' สั่งปลดพนักงานหลายร้อยก่อนรับคนเพิ่มครั้งใหญ่ - Short Clip
World Trend - WhatsApp ถูกวิจารณ์หนักกรณีรูปเปลือยเด็ก - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอน' ขึ้นแท่นบริษัทมูลค่ามากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - เทสลาลดราคา 'ออโตไพล็อต' หวังดึงดูดลูกค้าเพิ่ม - Short Clip
World Trend - สายการบินอินเดียขาดทุนแม้ผู้โดยสารเพิ่มเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
World Trend - แจ็คเก็ตอัจฉริยะ 'แจ็คการ์ด' เพิ่มฟีเจอร์เชื่อมต่อ 'อูเบอร์' - Short Clip
World Trend - 'แจ็ก หม่า' ยังไม่เกษียณตัวเองจากอาลีบาบาเร็ว ๆ นี้ - Short Clip
World Trend - 'เหรินเจิ้งเฟย' ชี้ สหรัฐฯ ประเมินหัวเว่ยต่ำไป - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์ขึ้นราคาทำลูกค้ารายได้น้อยเลิกดู - Short Clip
World Trend - 'เน็ตฟลิกซ์' คู่แข่งใหญ่ของบริการสตรีมมิงจากดิสนีย์ - Short Clip
World Trend - 'มาตรการรักษ์โลก' การแข่งขันอีกมิติของบริษัทไอที - Short Clip
World Trend - Nissan Leaf E+ แล้วในญี่ปุ่น - Short Clip
World Trend - องค์กรสิทธิฯ จี้ 'แอมะซอน' พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน - Short Clip
Jun 14, 2018 10:48

องค์กรด้านสิทธิแรงงานจี้ 'แอมะซอน' เร่งพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในจีน หลังตรวจพบการจ่ายค่าแรงที่ต่ำ แต่บังคับให้ทำงานมากเกินที่กฎหมายกำหนด

องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานจีน China Labor Watch ในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯออกมาเรียกร้องให้บริษัทแอมะซอน อีคอมเมิร์สรายใหญ่จากสหรัฐฯ ออกมาแสดงความรับผิดชอบและพัฒนาระบบการดูแลพนักงานในจีนให้ดีขึ้น 

หลังจากในช่วงเวลา 9 เดือนที่ผ่านมาองค์กร China Labor Watch ได้ทำการตรวจสอบสภาพการเป็นอยู่ของพนักงานงานและโรงงานที่ใช้ในการผลิต 'เอ็คโค' ลำโพงอัจฉริยะสั่งการด้วยเสียง และ 'คินเดิล' สมาร์ทแก็ตเจ็ทสำหรับอ่านหนังสือออนไลน์ของแอมะซอน พบว่ามีการจ่ายค่าแรงที่ต่ำมาก และพนักงานต้องใช้ชีวิตอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมอย่างรุนแรง

รายงานที่ถูกเผยเเพร่โดยองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานจีน China Labor Watch ระบุว่าพนักงานในโรงงานผลิตลำโพงอัจฉริยะเอ็คโคและคินเดิลต้องทำงานล่าวงเวลายาวนานถึงเดือนละ 100 ชั่วโมงเต็ม ในขณะที่กฎหมายกำหนดให้พนักงานสามารถทำงานล่างเวลาได้สูงสุดเดือนละ 36 ชั่วโมงเท่านั้น พร้อมได้รับค่าแรงที่ต่ำเกินไปจนจำเป็นจะต้องพึ่งรายได้การทำงานล่วงเวลาเป็นหลัก

นอกจากนั้นยังพบว่าแอมะซอนจ้างงานพนักงานชั่วคราวในจำนวนที่มากกว่าที่กฎหมายจีนกำหนด พนักงานไม่ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม พนักงานถูกบังคับให้ต้องเดินทางมาถึงสถานที่ทำงานก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาทีโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆในส่วนนี้ และสถานที่พักอาศัยที่มีการจัดหาให้พนักงานของแอมะซอนก็ยังไม่มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยอีกด้วย เช่นไม่มีอุปกรณ์ดับไฟใดๆทั้งสิ้นภายในอาคาร 

เว็บไซต์ The Verge รายงานว่า องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิแรงงานจีน China Labor Watch ใช้วิธีการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการสืบสวนกรณีนี้ปลอมตัวเข้าไปสมัครงานเป็นพนักงานของโรงงานดังกล่าว โดยได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ลำโพงเอ็คโค ด้วยการใช้แปรงขนาดเล็กจุ่มลงไปในแอลกอฮอล์ แล้วขัดทำความสะอาดสินค้าชนิดนี้ โดยระหว่างการทำงานเขาก็ได้พูดคุยกับพนักงานคนอื่นๆราว 10 คน 


จากการเข้าไปสังเกตุการณ์พบว่า พนักงานในโรงงานจะได้รับค่าจ้างต่อช่วงโมงเป็นเงิน 72.66 บาท ประกอบไปด้วยค่าจ้างพื้นฐาน 67.84 บาท บวกกับโบนัสอีกราว 4.82 บาท ซึ่งหากว่าพนักงานคนใดขอลาหยุดมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือนหรือมาสายเกินจำนวนที่กำหนดพวดเขาก็จะไม่มีทางได้รับค่าจ้างในส่วนของโบนัส 4.82 บาทต่อชั่วโมงนั้นเลย โดยค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนพวกเขาได้รับอยู่ที่ประมาณ 12,540 บาท ในขณะที่ค่าแรงเฉลี่ยของท้องถิ่นนั้นอยู่ที่ 23,315 บาทต่อเดือน


ด้วยสภาพดังกล่าวนี้เองทำให้พนักงานจำนวนมากยื่นใบลาออกอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน หรือ Turnover Rate นั้นสูงมาก เพราะพวกเขาต้องการออกไปหางานอื่นในท้องถิ่นทำ ซึ่งเป็นงานที่ไม่ลำบากเท่าการทำงานให้กับแอมะซอน และได้รับค่าจ้างที่สูงกว่า แม้ว่าการจ้างงานในจีนจะมีค่าแรงที่ต่ำอยู่แล้วก็ตาม 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog