โรงน้ำมันในซาอุดิอาระเบียถูกโดรนปริศนาจู่โจม ส่งผลให้รัฐบาลต้องลดกำลังการผลิตน้ำมันกว่าครึ่ง
'อับดุลลาซิส บิน ซัลมาน' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียแถลงลดการผลิตน้ำมันลงร้อยละ 50 ของการผลิตทั้งหมด หลังโรงงานน้ำมันของ 'ซาอุดิ อารามโก' บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ ถูกฝูงโดรนปริศาจู่โจมในช่วงรุ่งสางของวันเสาร์ (14 กันยายน) ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น
ขณะที่ 'เอมิน นาสเซอร์' ประธานและซีอีโอของซาอุดิ อารามโก ออกมากล่าวว่า ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวและทีมงานกำลังจัดการดับไฟและทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ตามข้อมูลจากองค์กรการจัดการข้อมูลพลังงานของสหรัฐฯ ชี้ว่า ซาอุดิอาระเบียผลิตน้ำมันถึง 9.85 ล้านบาเรล/วัน ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และการปิดโรงน้ำมันดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตถึง 5.7 ล้านบาเรล/วัน หรือคิดเป็น ร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตน้ำมันทั่วโลก
ซึ่งผู้ที่จะได้รับผลกระทบใหญ่ในครั้งนี้คือฝั่งเอเชีย โดย 'เแอนดรูว์ ลิพาว' ประธานของกลุ่มน้ำมันลิพาว กล่าวว่า ซาอุดิอระเบียส่งออกน้ำมันไปเอเชียกว่า 4 ล้านบาเรล / วัน โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็น จีน ที่ 1.3 ล้านบาเรล/วัน และ ญี่ปุ่น ที่ 1.2 ล้านบาเรล/วัน ขณะที่ส่งออกไปสหรัฐฯเพียง 6 แสนบาเรล/วันเท่านั้น
สำหรับการโจมตีครั้งนี้กบฏชีอะห์ฮูซีห์ในเยเมนออกมาประกาศตัวเป็นผู้รับผิดชอบการจู่โจม พร้อมชี้ว่านี่เป็นหนึ่งในการจู่โจมที่ใหญ่ที่สุดภายในประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยโฆษกของฮูซีห์ออกมาระกาศว่า "เราสัญญาต่อระบอบซาอุว่าการจู่โจมในอนาคตจะขยาวงกว้างขึ้นและเจ็บปวดมากขึ้นตราบเท่าที่การบุกรุกและการโจมตียังคงดำเนินต่อไป"
อย่างไรก็ตาม 'ไมค์ ปอมเปโอ' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐฯ ออกมากล่าวโทษอิหร่านว่าเป็นผู้สั่งการการโจมตี โดยไมค์ออกมาทวีตข้อความที่มีใจความว่า รัฐบาลอิหร่านอยู่เบื้องหลังการจู่โจมเกือบ 100 ครั้งในซาอุดิอาระเบีย ขณะที่ รูฮานี และ ซาริฟ เพียงแสร้งทำทำเป็นเข้าร่วมทางการฑูต ท่ามกลางการเรียกร้องให้มีการลดระดับ (ความขัดแย้ง) แต่อิหร่านกลับจู่โจมในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อแหล่งผลิตน้ำมันของโลก ไม่มีหลักฐานว่าเยเมนอยู่เบื้องหลังการจู่โจมนี้
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของซาอุดิอาระเบีย ออกมากล่าวเพียงว่ากำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ยังได้ระบุว่าใครอยู่เบื้องหลัง ขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานออกมาให้การยืนยันว่าประเทศจะสามารถสนับสนุนน้ำมันได้เพียงพอต่อความต้องการจากการใช้น้ำมันสำรอง