ไม่พบผลการค้นหา
'พิจารณ์' ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายเดือด ฉะ ‘ประยุทธ์’ หยุดเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มารักษาอำนาจและปกปิดความล้มเหลวในการบริหารประเทศ ด้าน 'สุทธวรรณ' ยันม็อบไม่รู้มีขบวนเสด็จ ชี้รัฐบาลต้องทำสถาบันฯให้อยู่เหนือความขัดแย้งการเมือง อย่านำมาสร้างความชอบธรรมให้ประชาชนยกพวกตีกัน

พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า เนื้อหาของญัตติเป็นข้อบิดเบือน กลบเกลื่อนและให้ร้าย โดนโยนความผิดต่อผู้ชุมนุมโดยไม่ได้คำนึงถึงความผิดพลาดของตัวเอง การชุมนุมไม่ได้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคจากที่ผ่านมาไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อหลังการชุมนุม และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ นานาประเทศต้องเชื่อมั่นว่าความขัดแย้งในสังคมสงบลง ไม่ใช่ใช้กฎหมายปิดปากประชาชน ความเชื่อมั่นก็จะลดลง ขณะที่การชุมนุมที่ทำเนียบก็มีการประกาศชัดเจนว่าจะยุติการชุมนุมเมื่อไร และที่มีการกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมขวางขบวนเสด็จ ทั้งที่รัฐบาลเป็นผู้ถวายการอารักขาความเรียบร้อยในการเสด็จ และผู้ชุมนุมก็หลีเลี่ยงเส้นทางนั้นแล้ว แสดงว่ารัฐบาลไม่ได้สำนึกถึงความผิดพลาดของตนเอง แต่ไปใส่ร้ายผู้ชุมนุมนำไปสู่คดีความที่มีโทษถึงประหารชีวิต เติมเชื้อไฟในสังคม การสลายกาชุมนุมที่แยกปทุมวัน เช่น การฉีดน้ำที่มีสารเคมีใส่ผู้ชุมนุม ก็เป็นการทำเกินกว่าเหตุ ขณะที่นายกรัฐมนตรีชี้แจงว่ามีการดำเนินการบางเรื่องที่ผู้ชุมนุมของมาแล้ว แต่ตนอยากให้ชี้แจงให้ชัดเจนว่าทำเรื่องไหนแล้วบ้างและความคืบหน้าถึงไหน ไม่ใช่การฟอกขาวตัวเองและปกปิดความผิดในการแก้ปัญหาประเทศ 

นายกรัฐมนตรีต้องทำความเข้าใจกับผู้ชุมนุมใหม่ ไม่ใช่ว่าเยาวชนจะมีใครมาชี้นำได้ พวกเขาฉลาดเกินกว่าใครจะชี้นำ ไม่อย่างนั้นค่านิยม 12 ประการที่รัฐบาลยัดใส่ก็คงจะอยู่ตรงนั้น ส่วนมาตรา 9 ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อ้างกระทบความมั่นคงของรัฐ ซึ่งต้องไม่ใช่ความมั่นคงของรัฐบาล จะเอามาป้องกันความอยู่รอดของรัฐบาลไม่ได้ UN ก็แสดงท่าทีว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคีอยู่ นายกรัฐมนตรีต้องหยุดคุกคามประชาชนด้วยกฎหมายพิเศษ ที่ผ่านมาเคยมีการชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน ทำลายทรัพย์สินราชการ จนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่สำหรับการชุมนุมนี้ไม่มีถึงขั้นนั้น แล้วจะประกาศให้ถอยคนละก้าว แต่ท่านก้าวเกินมาหลายก้าว ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่เท่ากับเพิกถอน

"นายกรัฐมนตรีต้องยกเลิกการดำเนิคดีกับผู้ที่ชุมนุมโดยสงบ นายกรัฐมนตรีเป็นคนเสพติดอำนาจ สมัยนี้ไม่มีเครื่องมือเหมือนหลังรัฐประหาร พอเกิดโรคระบาดจึงต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นี่คือพฤติกรรมของผู้นำประเทศที่ลุแก่อำนาจและเสพติดอำนาจโดยแท้ อำนาจตุลาการก็บิดเบี้ยว ตอบสนองความอยุติธรรมในสังคม คำถามของนายกรัฐมนตรีว่าผมผิดอะไร ความแยกแตก ความอดอยากของประชาชนคือคำตอบที่ชัดเจน ความผิดที่ร้ายแรงคือไม่รู้ตัวว่าทำผิด ปฏิเสธที่จะยอมรับความจริงและจะแก้ไขความผิดพลาด ทำเสียสมดุลการรักษาสุขภาพกับเศรษฐกิจ ใช้อำนาจแทรกแซงองค์กรอิสระจนเสียสมดุล" พิจารณ์ ระบุ

ถึงเวลาที่พรรคร่วมรัฐบาลต้องทบทวนการร่วมรัฐบาล รัฐบาลจะไปต่อไม่ได้ถ้าไม่มีพรรคร่วม นายกรัฐมนตรีต้องหยุดเอาความจงรักภักดีมากอดตัวเอง หยุดผูกมัดเอาสถาบันไว้กับปัญหาที่ตัวเองเป็นคนก่อเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจและปกปิดความล้มเหลว หยุดสะกดจิตตัวเองว่าไม่ผิดและยอมลาออก เปิดทางหใคนที่เห็นคนเท่าเทียมกันเข้ามาทำงานเพื่อหาทางออกและฉันทามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญและคืนอำนาจให้กับประชาชน

'สุทธวรรณ' ยันม็อบไม่รู้มีขบวนเสด็จ ชี้ รบ.ต้องทำสถาบันฯให้อยู่เหนือความขัดแย้งการเมือง

ต่อมาเวลา 14.05 น. สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม พรรคก้าวไกล กล่าวว่า เหตุการณ์ที่สะพานชมัยมรุเชษฐ เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ผ่านมา ผู้ชุมนุมไม่ได้มีเจตนาขัดขวางขบวนเสด็จ แต่เกิดจากการผิดพลาดในการจัดเส้นทาง และความผิดพลาดนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ ประชาชนและนักศึกษาไม่ทราบล่วงหน้าว่ามีขบวนเสด็จ ผู้ชุมนุมที่อยู่ในขบวนใหญ่ไม่ได้ผ่าแนวกัน แต่มีบางส่วนเกาะกลุ่มรอที่สะพานชมัยฯ ตรงทำเนียบรัฐบาล รวมทั้ง พล.ต.อ.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น.1 และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยืนอยู่ตรงนั้นด้วย แต่ไม่ได้แจ้งให้แก่ผู้ชุมนุมทราบว่าขบวนเสด็จจะเสด็จผ่าน ไม่มีใครทราบ และไม่มีการเคลียร์เส้นทางล่วงหน้า

9A9F1DF1-9EEE-47E9-B168-239AF9B86D9F.jpeg
  • สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม พรรคก้าวไกล

สุทธวรรณ กล่าวอีกว่า ต่อมาตำรวจตั้งแถวแต่ก็ไม่ได้บอกว่าทำอะไร คำถามคือทำไมตำรวจไม่แจ้ง เพื่อเคลียร์เส้นทาง ทั้งนี้ อยากถามว่าการจัดเส้นทางมีเส้นทางสำรองหรือไม่ ถ้ามี ทำไมถึงใช้เส้นถนนพิษณุโลก เรื่องนี้รัฐบาลไม่ได้ตั้งคณะกรรมาตรวจสอบข้อเท็จจริง และปล่อยให้มีการโยนความผิดให้แก่ผู้ชุมนุม ดังน้น พรรคก้าวไกลจึงขอยื่นญัตติด่วนขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อบกพร่องการกำหนดเส้นทางเสด็จ และการถวายความปลอดภัยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 

“ขอวิงวอนว่าอย่านำเหตุการณ์ขบวนเสด็จเมื่อวันที่ 14 ต.ค. มาให้ร้ายประชาชน และอยากให้รัฐบาลรับผิดชอบ เลิกบิดเบือนข้อเท็จจริง รัฐบาลต้องทำหน้าที่ธำรงค์ให้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนทุกฝ่าย ไม่ใช่นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาสร้างความเกลียดชัง สร้างความชอบธรรมให้ประชาชนออกมาทำร้ายกัน ขอยืนยันว่าพวกเราต้องหาทางออกร่วมกันเพื่อหาทางออกให้สถาบันพระมหากษัตริย์ธำรงค์อยู่อย่างสง่างามภายใต้รัฐธรรมนูญ” สุทธวรรณ กล่าว