ไม่พบผลการค้นหา
'ก้าวไกล' หวัง ส.ว.เสียงเกินครึ่งโหวตร่วมจัดประชามติพร้อมเลือกตั้ง เปลี่ยน รธน.ให้เป็นประชาธิปไตย จ่อดันประชาชน 60,000 ชื่อบี้ ครม.ประชามติ

วันที่ 3 พ.ย. 2565 ที่รัฐสภา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล แถลงข่าวหลังที่ประชุมสภาฯลงมติในญัตติด่วนเรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการตามที่สภามีมติในการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผลการลงคะแนนมีเสียงเป็นเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 323 ต่อ 0 งดออกเสียง 1 ไม่ออกเสียง 7 เสียง ให้สภาผู้แทนราษฎร ส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทำประชามติเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า3 เหตุผลสำคัญที่จะต้องจัดประชามติพร้อมเลือกตั้ง ข้อแรก คือประหยัดงบประมาณในการจัดการ ข้อที่สอง เป็นเรื่องของหลักการทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด และข้อสาม เป็นเรื่องการแสดงออกอย่างนัยเพราะหากมีการจัดประชามติ ประเทศไทยมีโอกาสจะเปลี่ยนกฎหมายสูงสุดของประเทศให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

โดยพิธาระบุว่า ตนหวังว่าส.ว. จะร่วมเห็นชอบกับแนวทางของพรรคก้าวไกล ด้วยการโหวตให้เกินครึ่งเพราะหากย้อนกลับไปเมื่อเดือน พ.ย.ปี 2563 สภาฯเคยมีญัตติโหวตให้มี ส.ส.ร. จากนั้น เดือนมี.ค. 2564 ส.ว. คว่ำญัตติดังกล่าว โดยหยิบยกเหตุผลว่าการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องจัดประชามติก่อน ดังนั้นครั้งนี้ส.ว.คงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่เห็นชอบกับพรรคก้าวไกล

”ขอให้พี่น้องประชาชนอย่าเพื่งหมดหวัง หากยังไม่อยากลุ้นกับ ส.ว. ท่านสามารถลงชื่อได้โดยตรงกับแคมเปญรีเซ็ตประเทศไทยที่ reset.thailand.org ขณะนี้ได้ 55,000 รายชื่อ แม้จะเกิน 50,000 มาแล้ว แต่เราต้องการตุนไว้ให้ถึง 60,000 เพื่อส่งข้อเสนอโดยตรงไปที่ ครม. ทั้งนี้ เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลโหวตเห็นด้วยครั้งนี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่ ครม. จะไม่ทำประชามติครั้งนี้” พิธา กล่าว

ด้านพริษฐ์ วัชรสินธุ ในฐานะผู้เสนอแคมเปญ reset ประเทศไทย กล่าวว่าในส่วนของภาคประชาชน แคมเปญ reset ประเทศไทยใช้การเข้าชื่อของประชาชนจำนวน 60,000รายชื่อโดยไม่ต้องอาศัยเสียงของ ส.ว.ซึ่งหากมีประชาชนร่วมเข้าชื่อครบตามจำนวนดังกล่าวก็สามารถส่งไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ทันทีโดยไม่ต้องหวังเสียงของส.ว. ดังนั้นเชื่อว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่ทำให้ ครม. ล้มมตินี้

พริษฐ์ ระบุว่า เรามีการดำเนินการล่ารายชื่อมาตั้งแต่ 1-2 เดือนที่ผ่านมา และเมื่อครบ 60,000 รายชื่อแล้ว จะเร่งดำเนินการยื่นไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จึงอยากให้ กกต. เร่งออกกฎระเบียบสำหรับการยื่นรายชื่อนี้ ภายหลังจากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติไปแล้ว

ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้การเสนอให้จัดทำประชามติผ่านการเข้าชื่อของประชาชน 50,000 รายชื่อ อาจถูกตีตกจากคณะรัฐมนตรีได้ แต่ญัตติของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย หากผ่านมติของรัฐสภาทั้ง ส.ส. และ ส.ว. แล้ว ก็ต้องจัดทำประชามติแน่นอน ตามหลักอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Parliamentary Supremacy) ดังนั้น จึงฝากพี่น้องประชาชนจับตาการลงมติของสมาชิกวุฒิสภาต่อไปด้วย เพราะหากผ่านเสียง ส.ว. ไปได้ ประชาชนได้ลงประชามติพร้อมการเลือกตั้งแน่นอน

พิธา -71E1-4A42-9B6A-3EE9748679BA.jpegไอติม พริษฐ์ -17C2-4016-B91D-A29334ABCFBE.jpeg

ข่าวที่เกี่ยวข้อง