ไม่พบผลการค้นหา
ปากีสถานเตรียมประหารผู้ก่อการร้ายเพิ่ม
พยาบาลอเมริกันคนที่ 2 ไม่มีเชื้ออีโบลาแล้ว
World Trend - ​WHO จัด 'ภาวะหมดไฟ' เป็นอาการป่วย - Short Clip
เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายกลางตลาดไนจีเรีย
World Trend - 'สมอลเลตต์' ถูกตำรวจตั้งข้อหา 16 กระทง - Short Clip
รถพุ่งชนคนในเยรูซาเลม โทษปาเลสไตน์ก่อการร้าย
พบศพผู้โดยสาร QZ8501 9 รายแล้ว
World Trend - ประชากรโลก 1 ใน 4 จะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง - Short Clip
World Trend - สงคราม 'ไขมันทรานส์' ประเทศไหนน่าห่วงที่สุด? - Short Clip
ฝรั่งเศสห้ามพลเมืองออกนอกประเทศ 6 คน
ปากีสถานไว้อาลัยเหตุสังหารหมู่นร.ในเปชวาร์
World Trend - สหรัฐฯ เร่งศึกษาวิธีรีไซเคิลแบตฯ ลิเทียมไอออน - Short Clip
World Trend - ลูกจ้างอังกฤษเกินครึ่งเชื่อ 'เจ้านายคอยแอบดู' - Short Clip
WHO จัดอันดับ 10 ประเทศที่มีภาวะซึมเศร้าที่สุดในโลก
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - โตเกียวเร่งเตรียมโอลิมปิก - เลิกแผนปรับ 'เวลาออมแสง' - Short Clip
อุบัติเหตุบนท้องถนน เสียหายเท่าจีดีพี6%
World Trend - 'อาหารห่อกลับ' ปัจจัยเร่งโรคอ้วนในเด็กอังกฤษ - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันยอมจ่ายค่าสตรีมมิง 650 บาท/เดือน - Short Clip
World Trend - Detu MAX กล้องวีอาร์ 3D 8K 360° ตัวแรกของโลก - Short Clip
'บันคีมุน' เตรียมลงพื้นที่อีโบลาด้วยตัวเอง
Dec 19, 2014 01:27

เลขาธิการสหประชาชาติเตรียมลงพื้นที่อีโบลาระบาดด้วยตัวเองในสัปดาห์หน้า ขณะที่ ประเทศมาลีก็ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ครบกำหนด 21 วันแรกแล้ว

นายบันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ เปิดเผยแผนการที่จะลงพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้ออีโบลาในแอฟริกาตะวันตกในสัปดาห์หน้า โดยระบุว่าเขาต้องการที่จะเห็นกระบวนการรับมือในแต่ละประเทศด้วยตัวเอง ตลอดจนต้องการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว และกระตุ้นเตือนให้นานาชาติสนับสนุนความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนยิ่งกว่าเดิม

ทั้งนี้ นายบันคีมุนมีกำหนดที่จะเดินทางเยือนกินี ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน และมาลี ซึ่งสหประชาชาติเป็นหน่วยงานหลักในการกระจายความช่วยเหลือในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมีกำหนดที่จะเดินทางไปยังกานา ซึ่งหน่วยงานรับมืออีโบลาฉุกเฉินของสหประชาชาติ หรือ UNMEER มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นั่นด้วย

การเดินทางเยือนกินีของนายบันคีมุนในครั้งนี้จะอยู่ในช่วงครบรอบ 1 ปีของการระบาดในประเทศพอดี และเป็นช่วงที่หน่วยงานภายใต้สหประชาชาติได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ว่าดำเนินการยับยั้งการระบาดได้ล่าช้ากว่าที่ควรมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขโดยตรงอย่างองค์การอนามัยโลก หรือ WHO

นายบันคีมุนระบุในแถลงการณ์ล่าสุดว่า การยับยั้งการระบาดของเชื้ออีโบลาจำเป็นต้องอาศัยทั้งงบประมาณและบุคลากรทางการแพทย์ที่เพียงพอ และในขณะนี้ก็เริ่มเห็นผลลัพธ์จากความช่วยเหลือที่ทุกฝ่ายส่งไปยังพื้นที่เสี่ยงบ้างแล้ว ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาและความมุ่งมั่น เพื่อให้สามารถยับยั้งการระบาดได้อย่างเด็ดขาด

จนถึงขณะนี้ จำนวนผู้เสียชีวิตจากเชื้ออีโบลาเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6,915 ราย จากผู้ติดเชื้อ  18,603 คนแล้ว โดยที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังคงพบอยู่ใน 3 ประเทศระบาดหนัก ขณะที่ มาลีไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ครบ 3 สัปดาห์แล้ว ซึ่งเท่ากับครึ่งทางของเกณฑ์การเฝ้าระวัง ก่อนที่จะสามารถประกาศเป็นประเทศปลอดเชื้อในที่สุด

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog