ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - โลกร้อนอาจทำให้คนกัมพูชาอดตาย - Short Clip
The Toppick - 'เงินบาทแข็ง' กระทบการท่องเที่ยวไทย - Short Clip
The Toppick - ไฟป่าลุกลามแอมะซอน เราช่วยอะไรได้บ้าง? - Short Clip
The Toppick - แฮกเกอร์ 'เกาหลีเหนือ' ทำเงินกว่าพันล้านดอลลาร์ - Short Clip
The Toppick - 'บริษัทพลังงานฟอสซิล' พาเหรดล้มละลาย - Short Clip
The Toppick - อาวุธไซเบอร์เปลี่ยนภูมิทัศน์การรบสมัยใหม่ - Short Clip
The Toppick - ยูทูบยกเลิกประกาศ ริบตรารับรองยูทูบเบอร์หลังถูกประท้วง - Short Clip
The Toppick - 'สกุลเงินดิจิทัลของจีน' อาจทำให้ทั่วโลกหันมาใช้เงินหยวน - Short Clip
The Toppick - รบ.ทหารซูดานลงนามข้อตกลงเปลี่ยนผ่านสู่รบ.พลเรือน - Short Clip
The Toppick - 'ซื้อตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เดินทาง' ผิดกฎหมายสิงคโปร์ - Short Clip
The Toppick - แฟชั่นเสื้อผ้ารองเท้าหนัง ทำลายป่าแอมะซอน - Short Clip
The Toppick - สเปนเปิดถ้ำคริสตัล 'มหัศจรรย์ในเหมืองเก่า' รับ นทท. - Short Clip
The Toppick - นักวิทยาศาสตร์ หวังสร้างนำแข็งคืนสู่ 'อาร์กติก' - Short Clip
 วางแผนการตลาดอย่างไรเมื่อพื้นที่โฆษณาบนเฟซบุ๊กจำกัด?
The Toppick - นักจิตวิทยาชี้ ทัศนคติต่อความรุนแรงในฮ่องกงเปลี่ยนไปแล้ว - Short Clip
The Toppick - งดเว้นภาษีเงินได้คนหนุ่มสาว-มาตรการหยุดสมองไหล? - Short Clip
The Toppick - อาชญากรรมในบาร์เซโลนาเพิ่มขึ้น 30% ในครึ่งปีแรก - Short Clip
The Toppick - อดีตกลุ่มติดอาวุธโคลอมเบียจัดแฟชั่นหนุนสันติภาพ - Short Clip
The Toppick - มาตรการแบนขวดพลาสติกในสนามบินได้ผลหรือไม่? - Short Clip
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - ชาวจีนอยากประหยัด แม้รบ.กระตุ้นใช้จ่ายภายในประเทศ - Short Clip
Aug 5, 2019 23:59

ธนาคารกลางจีนสำรวจความเห็นประชาชนและพบว่า ชาวจีนไม่ค่อยอยากจับจ่ายใช้สอยนัก แม้รัฐบาลจีนพยายามกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อชดเชยกับผลกระทบที่เกิดจากสงครามการค้าสหรัฐฯ

สำนักข่าวเซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์รายงานว่า ธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 18,600 คนจาก 31 มณฑลของจีนเกี่ยวกับความรู้และพฤติกรรมทางการเงินของผู้บริโภค ซึ่งจะทำสำรวจนี้ทุกๆ 2 ปี โดยปีนี้ พบว่า ประชาชนจำนวนมากรู้สึกว่าต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

ผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 79.03 ระบุว่า พวกเขาไม่เห็นด้วยกับการใช้จ่ายเงินที่ได้รับมาโดยทันที แต่ต้องการเก็บไว้เพื่ออนาคตมากกว่า และร้อยละ 44.23 ของคนที่กำลังเก็บเงินกล่าวว่า ต้องการเก็บเงินไว้เป็นทุนการศึกษาให้กับลูกๆ ในอนาคต สูงขึ้นจากเมื่อ 2 ปีก่อนเกือบร้อยละ 3 ขณะที่ร้อยละ 32.85 ระบุว่าต้องการเก็บเงินเอาไว้สำหรับโครงการในอนาคต

เมื่อถามเกี่ยวกับการเกษียณ ผู้ตอบสำรวจร้อยละ 56.96 กล่าวว่าพวกเขาวางแผนว่าจะพึ่งพาเงินบำนาญจากรัฐบาลเท่านั้น แต่หลายคนก็พยายามเก็บเงินไว้สำหรับยามเกษียณเพิ่มด้วย หรือไม่ก็หวังว่าลูกหลานจะช่วยดูแลยามเกษียณแล้ว

ขณะเดียวกัน คนที่ระบุว่าน่าจะไม่มีเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่มีจำนวนมากกว่าเงินเดือนตัวเอง 3 เท่ามีอยู่ร้อยละ 24.83 ของผู้ตอบสำรวจ ลดลงจากปี 2560 ที่มีอยู่ร้อยละ 26 ส่วนคนอีกร้อยละ 39.76 รู้สึกไม่มั่นใจว่าจะมีเงินสำรองมากขนาดนั้นหรือไม่ ลดลงจากปี 2560 ที่มีมากกว่าร้อยละ 40

แม้การสำรวจนี้จะสะท้อนทัศนคติของผู้บริโภคในจีนมากกว่าจะสะท้อนพฤติกรรมการใช้จ่ายจริง แต่ผลการสำรวจก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความกังวลที่มีมาสักพักใหญ่ว่า จีนมีอุปสรรคขวางทางความพยายามของรัฐบาลที่จะกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ เพื่อให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความมั่นคงขึ้น

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางการจีนพยายามจะเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจให้หันมาพึ่งพาการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น และระหว่างการประชุมด้านเศรษฐกิจประจำไตรมาสเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา โปลิตบูโร หรือคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนฯ ซึ่งมีศักยภาพสูงจากการเติบโตของชนชั้นกลางในเมืองและ "ตลาดชนบทที่เพิ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ"

อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ของโปลิตบูโรระบุไว้ว่าไม่ต้องการใช้มาตรการกระตุ้นงบประมาณและการเงินขนาดใหญ่เหมือนที่เคยใช้ช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินโลกในปี 2551 - 2552

จีนมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกลับต่ำสุดในไตรมาส 2 ของปีนี้ ขณะที่รัฐบาลก็ค่อยๆ เลยทิศทางไปสู่โมเดลการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการบริโภค โดยไตรมาสล่าสุด การบริโภคภายในประเทศคิดเป็นมากกว่าร้อยละ 60 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ความจำเป็นของการใช้การบริโภคภายในประเทศกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจยิ่งเร่งด่วนขึ้น หลังจากที่สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ทำให้การส่งออกของจีนย่ำแย่ลงอย่างหนัก อารมณ์ของนักลงทุนก็เริ่มจะอ่อนลง การเติบโตของรายได้ที่ลดลง มุมมองด้านการว่างงานก็ไม่แน่นอน หนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนชนชั้นกลางไม่ค่อยกล้าซื้อของราคาแพงอย่างรถยนต์ หรือของใช้ในบ้าน

ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) แสดงให้เห็นว่า หนี้ครัวเรือนของจีนสูงขึ้นอย่างมากจากปี 2558 ที่ร้อยละ 39 ของจีดีพี มาแตะร้อยละ 52.6 แล้ว โดยนักวิเคราะห์ต่างมองว่า หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการซื้อสังหาริมทรัพย์ ทำให้หลายคนไม่ต้องการใช้จ่ายในครัวเรือนอะไรเพิ่ม แล้วกลายเป็นความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต

ดังนั้น รัฐบาลจีนจำเป็นต้องหาสิ่งจูงใจให้ประชาชนกล้าใช้จ่ายเงินมากกว่านี้ เพื่อพยุงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน โดยที่ผ่านมา รัฐบาลจีนพยายามใช้มาตรการต่างๆ มาจูงใจให้คนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งปีที่แล้ว รัฐบาลได้ลดภาษีเงินได้ลงไปประมาณ 308,000 ล้านหยวน (1.37 ล้านบาท) และยังให้เงินอุดหนุนสินค้าเครื่องใช้ประหยัดพลังงานภายในบ้านและยานพาหนะพลังงานทางเลือกต่างๆ และคาดว่า ปีนี้จะมีมาตรการใหม่ๆ ออกมาอีกมาก หลังจากสัปดาห์ก่อนมีการตั้งคณะทำงานประสานงานกับรัฐบาลเกี่ยวกันการกระตุ้นการบริโภคโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ ดัชนีชี้วัดความรู้และพฤติกรรมทางการเงินของผู้บริโภคของธนาคารกลางของจีนระบุว่า ชาวจีนมีความรู้ด้านการเงินอยู่ที่ร้อยละ 64.77 เพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อนร้อยละ 1.06 แต่หยินโหย่วผิง รองผู้อำนวยการสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของธนาคารกลางจีน ยังกล่าวว่า ระดับการศึกษาที่สูงขึ้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินจะยิ่งซับซ้อนขึ้นในยุคดิจิทัล ผู้บริโภคจำเป็นต้องเตรียมพร้อมมากกว่านี้สำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด อีกทั้งยังต้องหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืมเงิน การลงทุน การทำประกัน และต้องมีทักษะในการระวังตัวจากผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ผิดกฎหมายด้วย


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog